หน้าแรก / แบ่งปันคุณค่าให้คนทั่วโลก
โอกาสไร้ขีดจำกัด
ไทยเบฟมีเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ดีที่สุดในการทํางานและเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าความสุขและความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานจะเป็นแรงจูงใจสําคัญที่ส่งเสริมให้พนักงานทํางานกับองค์กรได้ยาวนาน ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างองค์กรให้แข็งแกร่งจากภายในไทยเบฟมีความตั้งใจในการสร้าง "ความเป็นหนึ่ง เดียวกัน” โดยมอบโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะเพื่อนําไปสู่ความสําเร็จร่วมกัน เป็นผลให้พนักงานของไทยเบฟเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพและมีความสุขที่ต้องการจะเติบโตไปพร้อมกับองค์กร
ทั้งนี้ สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ไทยเบฟได้นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อให้พนักงานสามารถทํางานจากหลากหลายสถานที่และสร้างความพึงพอใจในสายอาชีพ ทําให้ในปัจจุบันพนักงานไทยเบฟสามารถทํางานได้จากทุกที่ และการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการทํางานก็เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบุคลากร
เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของบุคลากรควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายในองค์กรและเตรียมความพร้อมให้พนักงานก้าวหน้าไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็จของสภาพแวดล้อมในการทํางาน ไทยเบฟได้กําหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการบุคลากร ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1
โครงสร้างและบทบาทที่ชัดเจน
  • ปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของงานแต่ละตำแหน่ง เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจและ PASSION 2025
  • ขยายและพัฒนาสมรรถนะและเส้นทางอาชีพในกลุ่มงานให้สอดคล้องกับการออกแบบโครงสร้างและบทบาทการบริหารของไทยเบฟ

ยุทธศาสตร์ที่ 2
ค่าตอบแทนและ สวัสดิการที่แข่งขันได้ กับตลาด
  • บริหารและวิเคราะห์ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสวัสดิการ เพื่อสร้างเป็นมาตรฐานที่เหมาะสมในทุกบริษัทของกลุ่มไทยเบฟ โดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและความต้องการของบุคลากร

ยุทธศาสตร์ที่ 3
ค่าตอบแทนและ สวัสดิการที่แข่งขันได้ กับตลาด
  • การบริหาร ผลการดำเนินงาน ที่โดดเด่น

ยุทธศาสตร์ที่ 4
การพัฒนาพนักงาน แบบองค์รวม
  • ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้พนักงานพัฒนาตนเอง ผ่านการเรียนรู้ ในรูปแบบ 70:20:10 รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากร ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการใช้แผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ตลอดจน การติดตามความก้าวหน้าทางอาชีพของพนักงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 5
การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่งและ บุคลากรเชิงรุก
  • ยกระดับการเตรียมพร้อมของพนักงานและผู้บริหารในการสืบทอดตำแหน่งให้มีความพร้อมและความสามารถ เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดการเปลี่ยนถ่ายอย่างราบรื่นและมีความต่อเนื่องทางธุรกิจ เสริมสร้างความยั่งยืนขององค์กร

ยุทธศาสตร์ที่ 6
การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่งและ บุคลากรเชิงรุก
  • การสรรหาพนักงาน ที่มีศักยภาพ และ การดูแลพนักงานใหม่

ยุทธศาสตร์ที่ 7
การส่งเสริมวัฒนธรรม ที่สร้างความผูกพัน ต่อองค์กร
  • สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวผ่านค่านิยมของกลุ่มไทยเบฟ รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างต่อเนื่องให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมตามค่านิยมองค์กร
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
HR Asia 2021 and We Care Most Caring Company
ในปี 2564 ไทยเบฟได้รับรางวัล HR Asia Best Companies to Work for in Asia เป็นปีที่สามติดต่อกัน และยังได้รับรางวัล We Care Most Caring Company รางวัลระดับชาติและระดับสากล โดยได้รับจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการสำรวจพนักงานเกี่ยวกับการจัดการบุคลากร เพื่อเลือกผู้ชนะจากบริษัทหลายร้อยแห่งที่เข้าร่วม เราเชื่อว่าสิ่งนี้สะท้อนถึงวิธีการทำงานที่สร้างสรรค์และ การเป็นแบบอย่างที่ดี

688,596.90
ชั่วโมงการอบรม

ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ย
รวม 19.78
ชั่วโมง
ความหลากหลายของพนักงาน
กิจกรรมที่สำคัญในปี 2564
โปรแกรมการวิเคราะห์บุคลากร (People Analytics)
ไทยเบฟได้นําโปรแกรมการวิเคราะห์บุคลากรมาใช้เพื่อวัดผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ช่วยในการจัดทําแผนพัฒนาพนักงาน เสริมทักษะการทํางาน ช่วยในการสรรหาและว่าจ้างพนักงาน รวมถึงระบุแนวโน้มที่พนักงานจะลาออกจากองค์กร ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงมาตรการรักษาข้อมูล และความสามารถในการแข่งขันและวิเคราะห์เครือข่ายองค์กรด้วยการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อส่งเสริมการวางแผนและการตัดสินใจด้านกําลังคนขององค์กรเพื่อความมั่นใจในการเติบโตของธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ ไทยเบฟจําเป็นต้องมีการพัฒนาและเตรียมพร้อมศักยภาพของพนักงานผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะสองด้าน คือ การสร้างทักษะ (ReSkill) และการเสริมทักษะ (UpSkill)
การสร้างทักษะ (ReSkill)
การสร้างทักษะใหม่ให้เข้ากับโลกปัจจุบันและเตรียมรับมือโลกในอนาคต โดยปรับเปลี่ยนทักษะการทํางานเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กรและ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว
  • เพิ่มเติมทักษะพื้นฐานและเตรียมทักษะใหม่ที่จําเป็นในการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับพนักงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่อนาคตในยุคดิจิทัล
  • งานที่ใช้แรงงานคนปรับเปลี่ยน เพิ่มพูนทักษะของบุคลากรให้เป็นการควบคุมการทํางานด้วยเทคโนโลยี
  • บุคลากรที่อาจมีความเสี่ยงในความมั่นคงสายอาชีพเนื่องจากงานที่อาจ เปลี่ยนไปตามกลยุทธ์องค์กรอาจต้องเพิ่มเติมทักษะความสามารถใหม่ที่สามารถสร้างผลงานในองค์กรต่อไปได้
การเสริมทักษะ(UpSkill)
การเสริมทักษะความเชี่ยวชาญในเนื้องานเดิมให้ทันกับโลกยุคปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจขององค์กรและสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ
  • พัฒนาศักยภาพการทํางานในระดับภูมิภาค/ระดับโลกให้มากขึ้น เนื่องจากองค์กรมีการขยายตัวทางธุรกิจสู่ต่างประเทศนอกเหนือจากในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
  • พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติให้ดีขึ้น เช่น การติดต่อสื่อสารปฏิสัมพันธ์ แบ่งปันข้อมูล ข่าวสารผ่านเครื่องมือดิจิทัล หรือการป้องกันข้อมูลและตัวตนแบบดิจิทัล

เป้าหมายของสถาบันวิทยาการด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ (TSA)

ภายใต้ภารกิจ “สร้างและแบ่งปันคุณค่าแห่งการเติบโต” สถาบันวิทยาการด้านความยั่งยืนของไทยเบฟมุ่งเน้นงานด้านการส่งเสริมแนวทางความยั่งยืนขององค์กรกลุ่มไทยเบฟ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพนักงานและผู้บริหารของบริษัทในกลุ่มไทยเบฟให้มีความสามารถริเริ่ม ออกแบบ และประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อรับมือและส่งเสริมความยั่งยืน เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยให้การสนับสนุนทางด้านสังคม เช่น ศิลปะและวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย สถาบันฯ จัดการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียน วีดิทัศน์ พร้อมทั้งมีการวิเคราะห์และประเมินผลการเรียนของผู้เรียนผ่านแบบสอบถามและการเรียนแบบออนไลน์
ทิศทางการดำเนินงาน 2563 - 2568
หลักสูตรของสถาบันวิทยาการด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ (TSA)