หน้าแรก / แบ่งปันคุณค่าให้คนทั่วโลก
สิทธิมนุษยชน
ไทยเบฟยึดมั่นในการเคารพในสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งกฎหมายภายในประเทศและหลักสากลไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) หลักการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทํางานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labour Organization Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work)
กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของไทยเบฟ
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
100%
ของการดำเนินการและ กิจกรรมทางธุรกิจของไทยเบฟ
ได้รับการประเมิณความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ไทยเบฟมีกิจกรรม ที่มีความเสี่ยงด้าน สิทธิมนุษยชนที่สำคัญ โดดเด่นทั้งหมด
4 กิจกรรม
20.83%
ของกิจกรรม ทางธุรกิจของไทยเบฟ
ได้รับการระบุว่ามีความเสี่ยง ตามลักษณะธรรมชาติ
100%
ของการ ดำเนินการและกิจกรรมทางธุรกิจของไทยเบฟ
ที่ถูกระบุถึงความเสี่ยง ด้านสิทธิมนุษยชนระดับสูง ได้มีการดำเนินมาตรการบรรเทาและขั้นตอนการเยียวบาเรียบร้อยแล้ว
ก้าวสู่ปี 2568
  • โครงการติดตามตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องรอบด้านโดยจัดกระบวนการตรวจสอบเป็นประจําทุกปี
  • การก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อความผาสุกของพนักงานเพื่อเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • ทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนโดยมุ่งเน้นที่จะปฏิบัติ ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และมุ่งสู่มาตรฐานสูงสุด
  • สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยสื่อสารและจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องให้กับพนักงานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงผู้รับเหมาและบริษัทคู่ค้าของไทยเบฟ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมประจําปี รวมทั้งบรรจุไว้ในหลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของไทยเบฟ
  • ขยายผลการประเมินสิทธิมนุษยชนของบริษัทให้ครอบคลุมการดําเนินงานในต่างประเทศ ทําให้เกิดการทํางานร่วมกันในการป้องกันผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
  • แก้ไขปรับปรุงความเสี่ยง 3 ด้านที่ได้จากกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนของไทยเบฟ คือด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ด้านสภาพการทํางานของพนักงาน และด้านสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีป้องกันความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมการทํางาน และความผาสุกของของพนักงานในทุกภูมิภาค การจัดกิจกรรมด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานทั่วทั้งกลุ่มไทยเบฟ ตลอดจนโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่กู้ภัยและกู้ภัยในพื้นที่ปฏิบัติงานและชุมชนใกล้โรงงานของบริษัท
  • ตรวจสอบประเมินความเสี่ยงของคู่ค้ารายสําคัญที่จําหน่ายสินค้าและบริการให้กับไทยเบฟโดยตรง (Critical Tier 1 Supplier) ณ สถานประกอบการทุกราย โดยครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและร่วมมือกับคู่ค้ารายสําคัญเหล่านี้ในการบรรเทาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากคู่ค้าของคู่ค้า (Non-tier 1Supplier)
การดำเนินการในปี 2564
ในปี 2564 ไทยเบฟได้ระบุประเด็นสําคัญด้านสิทธิมนุษยชน 10 ประการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน สภาพการทํางาน การเลือกปฏิบัติ และสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน ดังนี้
  • สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน (การกระจายสินค้า:โลจิสติกส์การขนส่งสินค้า)
  • สภาพการทํางาน (การตลาดและการขาย: งานอีเวนต์)
  • สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน (การตลาดและ การขาย: งานอีเวนต์)
  • การเลือกปฏิบัติ (การตลาดและการขาย: งานอีเวนต์)
  • สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน (การตลาดและการขาย:งานอีเวนต์)
  • สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน (การตลาดและการขาย)
  • สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน (การตลาดและการขาย: การขาย)
  • สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน (การตลาดและการขาย:การขาย)
  • สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน (การจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค: นํากลับมาใช้ใหม่/รีไซเคิล)
  • สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน (ทรัพยากรมนุษย์)