หน้าแรก / สังคม
การพัฒนาชุมชนและสังคม
ตลอดระยะเวลา 16 ปีที่ผ่านมาไทยเบฟให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสร้าง ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับชุมชน บริษัทยังคงมุ่งมั่นสานต่อการพัฒนา ความอย่างยั่งยืนของชุมชนควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ มุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมทั้งการร่วมคิด ร่วมพัฒนาชุมชนในหลากหลายมิติผ่านโครงการต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีความมุ่งหวังให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจระดับชุมชนที่ยั่งยืน ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในการช่วยเหลือชุมชนผ่านการทำงานภายใต้โครงการ “ไทยเบฟร่วมสร้างชุมชนดีมีรอยยิ้ม” ถึงแม้ปัจจุบันประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในทุกภาคส่วนของสังคม ไทยเบฟก็ยังคงมุ่งมั่นและดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทุกภาคส่วนผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ


การบรรเทาภัยหนาวและช่วยเหลืออื่น ๆ

  • มอบผ้าห่ม จำนวน 200,000 ผืน แบ่งเป็น
    • ผู้สูงอายุ 81,954 คน
    • ผู้มีรายได้น้อย 59,259 คน
    • ผู้ประสบภัยหนาว 43,863 คน
    • คนพิการทุพพลภาพ 12,595 คน
    • เด็กไร้ผู้อุปการะ 2,329 คน
      (ที่มาของแหล่งข้อมูล: สรุปโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 15 จังหวัด กระทรวงมหาดไทย)
  • แจกจ่ายสู่พี่น้องผู้ประสบภัยหนาว ใน 15 จังหวัด
  • ชาวบ้านกว่า 1,425 คน ใน 9 จังหวัด ภาคเหนือ/อีสาน ที่มารับมอบผ้าห่มได้รับโอกาสเข้าถึงการตรวจสุขภาพจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
    • มอบอุปกรณ์การเรียนและคอมพิวเตอร์ 60 เครื่องให้โรงเรียนที่ส่งมอบผ้าห่มทั้งหมด 14 แห่ง
    • ขวดน้ำ PET 7,600,000 ขวดนำมารีไซเคิลเป็นผ้าห่ม
    • จำนวนพนักงานจิตอาสาเข้าร่วมโครงการ 275 คน
    • จำนวนชั่วโมงพนักงานจิตอาสา เข้าร่วมโครงการ 4,263 ชั่วโมง


ด้านเศรษฐกิจชุมชน

  • พื้นที่ดำเนินการ 15 พื้นที่ ใน 14 จังหวัด
  • สร้างรายได้ให้ชุมชน 15,865,276 บาท
  • มีชุมชนเข้าร่วม 105 ชุมชน
  • สมาชิกรับประโยชน์ 3,122 ราย


ด้านการช่วยเหลือชุมชนในช่วงสถานการณ์โควิด-19

(ทำการตลาดออนไลน์ จำหน่ายสินค้าชุมชน)

  • สร้างรายได้ให้ชุมชน 2,020,950 บาท
  • มีชุมชนเข้าร่วม 24 ชุมชน สมาชิกรับประโยชน์ 1,216 ราย


ด้านสิ่งแวดล้อม

  • จัดทำระบบประปาภูเขา ระยะทาง 2 กิโลเมตร
  • ระบบประปาภูเขาสามารถกักเก็บน้ำได้ 4,500 ลิตรต่อวัน
  • ช้างจำนวน 20 กว่าเชือกมีแหล่งน้ำกิน
  • พื้นที่ทำโครงการครอบคลุม 21 ไร่
  • ชาวบ้านและคนเลี้ยงช้าง ได้ประโยชน์ จำนวน 60 ครัวเรือน