TH
EN
การพัฒนาที่ยั่งยืน
×
SEARCH
SEARCH
⚲
หน้าแรก
การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
สิ่งแวดล้อม
สังคม
ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
ดาวน์โหลด
รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2563
แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ
ใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม
แบ่งปันคุณค่าให้คนทั่วโลก
ใส่ใจดูแลบุคลากร ลูกค้า
และผู้บริโภค
รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2563
แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ
สารจากกรรมการผู้อำนวยการใหญ่
เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้
กระบวนการประเมินสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
ตัวเลขชี้วัดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ความสำเร็จด้านความยั่งยืนที่สำคัญในปี 2563
ห่วงโซ่คุณค่าของไทยเบฟ
แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การบริหารความเสี่ยง
ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางด้านไซเบอร์
รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2563
ใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม
การจัดการดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
การจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ
การจัดการด้านพลังงาน
การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ
การบริหารจัดการของเสีย บรรจุภัณฑ์ และเศรษฐกิจหมุนเวียน
รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2563
แบ่งปันคุณค่าให้คนทั่วโลก
การดูแลและแบ่งปัน การสร้างคุณค่าให้แก่สังคม
การพัฒนาด้านการศึกษา
การพัฒนาด้านสาธารณสุข
การพัฒนาด้านกีฬา
การอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ
การพัฒนาชุมชน
โครงการประชารัฐรักสามัคคี
ศูนย์ ซี อาเซียน (C asean)
รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2563
ใส่ใจดูแลบุคลากร ลูกค้า และผู้บริโภค
โอกาสไร้ขีดจำกัด
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความผาสุกของพนักงาน
สิทธิมนุษยชน
การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
การบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า
การจัดหาอย่างยั่งยืน
การกำกับดูแลองค์กร และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย
Close
หน้าแรก
/ รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2563 / ใส่ใจดูแลบุคลากร ลูกค้า และผู้บริโภค
GRI 103-1, GRI 103-2, GRI 103-3, GRI 201-1, GRI 205-2, GRI 205-3, GRI 415-1, GRI 419-1
การกำกับดูแลองค์กร และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
ไทยเบฟยึดมั่นในการปฏิบัติภายใต้กรอบจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ โดยมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมทั้งดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และเป็นธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมถึงส่งเสริมให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล และมีผลประกอบการที่ดีโดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว ซึ่งตรงตามความมุ่งหวังของทั้งภาคธุรกิจ ผู้ลงทุน ตลอดจนตลาดทุนและสังคมโดยรวม
การกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กร
ไทยเบฟมุ่งเน้นการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งสอดคล้องกับจรรยาบรรณของบริษัท โดยมีการวางแผนจัดการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงอย่างเหมาะสมตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสเพียงพอ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน พนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า เพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรด้วย
คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบในการเป็นผู้นำขององค์กร ดูแลความเป็นผู้นำของธุรกิจโดยรวมในการกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน และความสำเร็จในระยะยาวของบริษัทในกลุ่มไทยเบฟ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของไทยเบฟเป็นไปตามแผนธุรกิจหลักของบริษัท ตามมติของผู้ถือหุ้นโดยสุจริต ภายใต้กฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท รวมถึงการกำกับดูแลให้บริษัทในกลุ่มไทยเบฟและบริษัทย่อยปฏิบัติตามกฎระเบียบของ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (สามารถศึกษาโครงสร้างองค์กรและรายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท ได้จากรายงานประจำปี 2563 และบนเว็บไซต์
www.thaibev.com
)
อนึ่ง ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ออกมาตรการให้บริษัท จดทะเบียนสามารถจัดประชุมผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น การจำกัดจำนวนผู้เข้าประชุมและผู้จัดเตรียมการประชุมในสถานที่จัดประชุมเดียวกันไม่เกิน 6 คน การส่งคำถามล่วงหน้าของ ผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 72 ชั่วโมงก่อนวันประชุม และการปฏิบัติตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมและได้รับข้อมูลเท่าเทียมกัน และเพื่อช่วยให้บริษัทจดทะเบียนสามารถจัดประชุมผู้ถือหุ้นได้ตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับไทยเบฟได้มีการจัดประชุมเพื่อสื่อสารระหว่างบริษัทและผู้ฝากหลักทรัพย์ในประเทศสิงคโปร์ (Annual Information Meeting) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยการถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง webcast เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 เพื่อให้ผู้ฝากหลักทรัพย์ในประเทศสิงคโปร์ได้รับข้อมูลเท่าเทียมกับข้อมูลที่เปิดเผยในการประชุมผู้ถือหุ้นในประเทศไทย โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถส่งคำถามเกี่ยวกับธุรกิจและการดำเนินงานของบริษัทเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงชี้แจงในการประชุม ทั้งนี้ ไทยเบฟได้เปิดเผยข้อมูลการชี้แจงดังกล่าวผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGXNET) ในวันเดียวกัน สำหรับการประชุมคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการย่อยของไทยเบฟและบริษัทย่อยในกลุ่มไทยเบฟ ได้จัดให้มีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงที่อยู่ทั้งประเทศไทยและต่างประเทศมีโอกาสเข้าร่วมประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำได้ โดยปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้ ไทยเบฟได้ประกาศใช้นโยบายการรับข้อร้องเรียน เพื่อเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการรับฟังข้อร้องเรียนจากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของไทยเบฟ ทั้งนี้ ปี 2563 ไม่พบรายการขัดแย้งที่มีนัยสำคัญและไม่พบข้อร้องเรียนด้านจริยธรรมที่มีนัยสำคัญ
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
ไทยเบฟกำหนดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจด้วยเจตนารมณ์มุ่งเน้นพฤติกรรมที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติตามกฎหมาย มีศีลธรรมและจริยธรรม ทั้งนี้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ต้องยึดถือปฏิบัติตาม เพื่อให้บริษัทบรรลุจุดมุ่งหมายในการรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณและรักษามาตรฐานทางจรรยาบรรณไว้อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจเจริญเติบโตก้าวหน้า มีความมั่นคงยั่งยืน เป็นที่ยอมรับของสังคม
ไทยเบฟมีหน้าที่ที่จะทำให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยคำนึงถึงภาวะและปัจจัยความเสี่ยงทั้งในปัจจุบันและอนาคต และปฏิบัติต่อพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าทุกคนอย่างถูกต้องชอบธรรม บริษัทมุ่งเน้นให้พนักงานทุกคนเข้าใจเนื้อหาและความหมายจรรยาบรรณของบริษัทที่กำหนดไว้อย่างถ่องแท้ และประกาศให้บุคลากรทุกระดับของบริษัททราบ ประกอบกับต้องยอมรับและยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทในทุก ส่วนให้ความร่วมมือและปฏิบัติอย่างจริงจังภายใต้นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จะส่งผลกับบริษัทดังนี้
ช่วยให้บริษัทรักษาความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงาน
ทำให้เกิดความเป็นธรรมในองค์กร
พนักงานมีเกียรติมีศักดิ์ศรี เป็นคนดีคนเก่ง
องค์กรเป็นที่ยอมรับต่อสังคม
เพื่อความผาสุกของพนักงาน
การต่อต้านการทุจริต
การทุจริตเป็นสิ่งผิดกฎหมาย กระทบต่อการแข่งขันแบบเสรีและผิดจรรยาบรรณของบริษัท ซึ่งทำให้ชื่อเสียงองค์กรเสื่อมเสีย ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรขาดความเชื่อมั่น และกระทบต่อผลประกอบการบริษัท ไทยเบฟดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีคุณธรรม ยึดหลักความยุติธรรม และยึดมั่นปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ พร้อมทั้งคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย จากการดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไทยเบฟจึงได้กำหนดนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชันเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจและดำเนินการเพื่อป้องกันการคอร์รัปชัน รวมถึงเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและเสริมสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอนาคต
หากมีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ กฎระเบียบ มาตรฐาน และกฎหมาย กรรมการผู้อำนวยการใหญ่มีหน้าที่รับผิดชอบ ติดตามและกำหนดให้มีระบบรองรับการต่อต้านการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพโดยรายงานต่อประธานคณะกรรมการและคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบและทบทวนนโยบายให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ นอกจากนี้ไทยเบฟยังกำหนดขอบเขตการปฏิบัติตามนโยบายของทุกฝ่าย ดังนี้
ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามนโยบาย พร้อมทั้งร่วมมือกับกรรมการ ผู้บังคับบัญชา และพนักงาน ช่วยกันสอดส่องดูแล
กรรมการและพนักงานมีหน้าที่รักษามาตรฐานสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ
พนักงานต้องไม่ทนหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริตคอร์รัปชัน
พนักงานต้องให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
หากไม่ปฏิบัติตามนโยบายอาจถือเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง เป็นการขัดต่อสัญญาและเป็นความผิดอาญาของบุคคลนั้น ๆ และอาจสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อชื่อเสียงและสถานะของบริษัท หากพบเห็นการคอร์รัปชันให้แจ้งการกระทำดังกล่าวแก่ผู้บังคับบัญชาหรือหากพบบุคคลที่กระทำผิดจะถูกลงโทษตามกฎระเบียบของบริษัทและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
การรับข้อร้องเรียน
ไทยเบฟมีนโยบายรับข้อร้องเรียนโดยสนับสนุนให้พนักงานแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยว่าอาจเป็นความผิด โดยไทยเบฟจะดำเนินการกับการกระทำที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยว่าอาจเป็นความผิดที่เกิดขึ้นภายในอย่างเข้มงวด และพนักงานที่แจ้งข้อเท็จจริงอันชอบธรรมจะไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหากเป็นการแจ้งข้อร้องเรียนโดยสุจริต ซึ่งกระบวนการแจ้งข้อร้องเรียนมีดังนี้
หากกรรมการมีข้อร้องเรียน ให้กรรมการแจ้งข้อร้องเรียนดังกล่าวไปยังประธานกรรมการตรวจสอบ
หากพนักงานมีข้อร้องเรียน ให้พนักงานแจ้งข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางที่แนะนำ โดยระบุชื่อและรายละเอียดเพื่อใช้ในการติดต่อ แล้วแจ้งไปยังบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
พนักงานทุกคนสามารถแจ้งข้อมูลที่อยู่ในข่ายอันสงสัยมายังกรรมการผู้อำนวยการใหญ่โดยตรง ผ่านทางอีเมล whistleblowing@thaibev.com หรือส่งมายังผู้บริหารโดยตรง
ไทยเบฟพร้อมที่จะปกป้องพนักงานที่แจ้งข้อร้องเรียนที่มีมูลความจริงโดยรักษาข้อมูลไว้เป็นความลับและจะดำเนินการกับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นอย่างเข้มงวด
พนักงานที่แจ้งข้อเท็จจริงจะไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายใด ๆ หากเป็นการร้องเรียนโดยสุจริต
ไทยเบฟจะดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อคุ้มครองกรรมการและพนักงานจากความเสียหายหรือการถูกทำร้ายอันมีสาเหตุมาจากการแจ้งข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น
เมื่อมีพนักงานแจ้งข้อร้องเรียน ไทยเบฟมีมาตรการดำเนินการดังนี้
ประเมินเรื่องที่ได้รับแจ้งเพื่อตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งอาจเป็นการสืบสวนเป็นการภายในหรือส่งเรื่องต่อเพื่อดำเนินการสืบสวนโดยบุคคลภายนอก
หากพบว่าข้อร้องเรียนเป็นเท็จหรือโดยทุจริต หรือมีลักษณะประสงค์ร้าย หรือปราศจากความรอบคอบ หรือเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำผิดซึ่งนำไปสู่การพิจารณาความผิดทางวินัยตามที่ระบุไว้ในหัวข้อการพิจารณาความผิดทางวินัยและบทลงโทษในคู่มือพนักงานของไทยเบฟ นอกจากนี้ ยังมีการทำประชาสัมพันธ์ถึงช่องทางแจ้งข้อร้องเรียน ผ่านสื่อภายในองค์กร
การละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย
ไทยเบฟกำหนดให้พนักงานต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กรและข้อกฎหมายของทุกประเทศที่ไทยเบฟเข้าไปดำเนินกิจการ หากมีการละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับใด ๆ ทั้งด้านจรรยาบรรณ ความเป็นเลิศขององค์กร และสิทธิมนุษยชนในสถานที่ประกอบการหรือสถานที่ดำเนินธุรกิจ จะต้องหยุดการละเมิดนั้นในทันทีและใช้มาตรการจัดการที่เหมาะสม ในปี 2563 ไทยเบฟและกลุ่มไทยเบฟพบว่า มีการละเมิดที่ไม่รุนแรง และกรณีรุนแรง โดยเป็นการจัดกลุ่มระดับ ของการละเมิดตามผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยกำหนดเกณฑ์ตามมูลค่าทางการเงิน กรณีรุนแรง (Major case) คือ กรณีที่มีผลกระทบทางการเงินมากกว่าหรือเท่ากับ 300, 000 บาท และกรณีไม่รุนแรง (Minor case) คือกรณีที่มีผลกระทบทางการเงินน้อยกว่า 300,000 บาท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับและการทุจริตในองค์กร ไทยเบฟมีแนวทางแก้ไขเบื้องต้นดังนี้
จัดให้มีการปฐมนิเทศให้กับพนักงานใหม่และผู้บริหาร
จัดให้มีหลักสูตรการอบรมแบบออนไลน์
ให้ความสำคัญในการสื่อสารและทำความเข้าใจในจริยธรรมในการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้บริหาร(Business Ethics)
มุ่งมั่น สื่อสาร ทำความเข้าใจ และกำหนดให้พนักงานและผู้บริหารปฏิบัติตามจรรยาบรรณเครือไทยเบฟเวอเรจ
หากไทยเบฟตรวจพบการทุจริต บริษัทจะดำเนินการ ขั้นเด็ดขาดทันทีและอาจถูกดำเนินคดี
จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบการทุจริตในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ โดยสำนักตรวจสอบภายใน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าไทยเบฟปฎิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย
©สงวนลิขสิทธิ์ 2566 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)