หน้าแรก / ห่วงโซ่คุณค่า ภาพรวม
ไทยเบฟบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยยึดถือตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการดำเนินงาน เราได้ริเริ่มและสานต่อหลายๆโครงการ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พัฒนาผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร และเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ 2020
แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
นโยบายและกลยุทธ์การจัดหาอย่างยั่งยืน
01 ระบุความเสี่ยง
  • การบังคับใช้นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน
  • การประเมินคู่ค้าก่อนการซื้อขายด้วยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG)
  • การประเมินความสำคัญของสินค้าและคู่ค้า (criticality assessment)
02 บริหารจัดการความเสี่ยง
  • การตรวจประเมินคู่ค้า ณ สถานประกอบการ (on-site audit) และการตรวจประเมินคู่ค้าโดยผู้ทวนสอบภายนอก (proxy audit)
  • ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล ในสัญญาซื้อขาย
  • การให้รางวัลคู่ค้าและการพัฒนาศักยภาพคู่ค้า
  • การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
03 ติดตามและบรรเทาความเสี่ยง
  • ความผันผวนของราคาสินค้า และอุปทานสินค้าที่เพียงพอต่อการผลิต
  • การทบทวนผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาลของคู่ค้าประจำปี
  • การแก้ไขประเด็นปัญหาของคู่ค้า
  • การจัดกลุ่มคู่ค้าตามผลการดำเนินงาน

การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดหา
ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล
ประเด็นสำคัญ

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
พัฒนาการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าและลูกค้า ด้วยการจัดตั้งศูนย์การให้บริการด้านจัดซื้อ (Procurement Service Center)
การยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของคู่ค้า
พัฒนาการบังคับใช้นโยบายและประสิทธิภาพในกระบวนการจัดหา ด้วยระบบ SLCM: Supplier Life Cycle Management
การประกาศเกียรติคุณคู่ค้า
มอบรางวัลแก่คู่ค้าที่แสดงให้เห็นถึงความมุมานะและมีผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือกัน เพื่อสร้างประโยชน์ภายในห่วงโซ่อุปทาน

ผลสำเร็จ
การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


ติดต่อเรา
(+66) 02-079-7333
psc@thaibev.com
วันจันทร์ – วันศุกร์ 8.30 – 17.00 น.
ศูนย์การให้บริการด้านการจัดซื้อของไทยเบฟ (PROCUREMENT SERVICE CENTER)
เป็นศูนย์การให้บริการสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอกของไทยเบฟ เพื่อบันทึก ติดตาม และแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาของไทยเบฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์การให้บริการนี้เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นมา
จำนวนชั่วโมงการให้บริการต่อสัปดาห์ 

เป้าหมายการให้บริการ (SLA)



ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2562
การยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของคู่ค้า
ระบบ SUPPLIER LIFE CYCLE MANAGEMENT (SLCM)
คือ แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับให้บริการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างไทยเบฟและคู่ค้าของบริษัท ระบบ SLCM ช่วยให้ไทยเบฟเชื่อมต่อกับคู่ค้าได้ โดยมีกระบวนการทำงานที่กระชับจากการใช้ระบบอัตโนมัติ การแลกเปลี่ยนเอกสารออนไลน์ (document exchange) และการให้คู่ค้าบริการตนเอง


+ 1
ล้านนาทีที่มีการเปิดให้บริการระบบ
*นับตั้งแต่เปิดให้บริการในวันที่ 1 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน 2560
+ 2,000
จำนวนบัญชีผู้ใช้งานของคู่ค้า
+ 1,500
จำนวนคู่ค้าที่ได้รับการตรวจประเมินผ่านช่องทางออนไลน์
100%
จำนวนคู่ค้ารายใหม่ที่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าของไทยเบฟ (Supplier Code of Practice)
12%
ประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานที่ดีขึ้น
แผนงานการเปิดให้บริการระบบ
2559

เปิดให้บริการระบบ

2560

การลงทะเบียนคู่ค้าในระบบ
การยืนยันคำสั่งซื้อออนไลน์

2561

การตรวจสอบสถานะการชำระเงิน

2562

การบริหารจัดการสินค้าคงคลังโดยคู่ค้า (Vendor Inventory Management)

2563

การบันทึกใบแจ้งหนี้ผ่านระบบ

การให้รางวัลแก่คู่ค้าที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม
โครงการประกาศเกียรติคุณคู่ค้า
เป็นโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า กระตุ้นการแข่งขันทางธุรกิจ และสรรค์สร้างนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการและเกณฑ์การพิจารณาการมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณคู่ค้าอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคู่ค้าที่ได้รับรางวัลมีมาตรฐานในการดำเนินงานอันเป็นเลิศ และเป็นแม่แบบในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้กับคู่ค้ารายอื่นๆ
คุณสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ แคน จำกัด
คู่ค้าที่เข้าร่วมโครงการประกาศเกียรติคุณคู่ค้าของไทยเบฟ
ได้รับรางวัล Silver Award 2 ปีติดต่อกัน
“โครงการประกาศเกียรติคุณคู่ค้าของไทยเบฟช่วยผลักดันให้เราต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่ค้ารายอื่นๆได้ ทั้งในด้านต้นทุน คุณภาพ และมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังช่วยให้เราตระหนักถึงแนวทางการทำธุรกิจบนรากฐานที่ยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา”
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
สัดส่วนมูลค่าจัดหาของผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีผลการดำเนินงานที่พัฒนาขึ้น
หมายเหตุ
ในปี 2560 บริษัทเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของผู้เข้าร่วมโครงการจากผลการดำเนินงานก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

ในปี 2561 บริษัทเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้ตัวชี้วัดในการพิจารณามอบรางวัลระหว่างปีก่อนหน้าและปีปัจจุบัน
แผนการดำเนินงาน
2559

ริเริ่มโครงการ

2560

พิจารณาการมอบรางวัลจากปัจจัยด้านคุณภาพ ด้านพาณิชย์ ด้านการส่งมอบ และด้านนวัตกรรมและการให้บริการ

2561

เพิ่มปัจจัยด้านความยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการพิจารณามอบรางวัล

2562

ประกาศรางวัลด้านความยั่งยืน (Sustainability Award)

2563

ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทและคู่ค้าเต็มรูปแบบ เพื่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ยั่งยืน