หน้าแรก / ด้านเศรษฐกิจ การวัดและให้มูลค่าผลกระทบ
ไทยเบฟให้ความระมัดระวังอย่างที่สุดสำหรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการขยายตัวของการดำเนินการที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยการมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นและการลดผลเสียหายต่อภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมไปในคราวเดียวกัน
การรับซื้อเศษแก้วจากชุมชน
การรับซื้อเศษแก้วจากชุมชนเป็นปฏิบัติการใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามาในโครงการรีไซเคิลขวดแก้ว โดยเริ่มต้นขึ้นจาก 7 ใน 31 แห่งทั่วประเทศ กระบวนการผลิตนั้นรวมถึงการซื้อเศษแก้วที่ยังไม่ได้ทำความสะอาดมาทำความสะอาดเบื้องต้นและบดเป็นเศษแก้วที่เหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขวดแก้ว

กระบวนการดำเนินการประกอบด้วย
  • กระบวนการคัดแยกวัสดุที่ไม่พึงประสงค์ออกจากเศษแก้วที่ยังไม่ได้ทำความสะอาด อาทิ โลหะ อลูมิเนียม และฉลาก
  • กระบวนการบดให้เป็นเศษแก้วขนาดที่เหมาะสม
ไทยเบฟรับซื้อเศษแก้วที่ทำความสะอาดแล้วจากซัพพลายเออร์หลัก 15 รายและเศษแก้วที่ยังไม่ได้ทำความสะอาดจากซัพพลายเออร์รายย่อยในชุมชน 378 ราย เศษแก้วที่ทำความสะอาดแล้วจะถูกส่งตรงไปยังโรงงานผลิตขวดแก้ว ส่วนเศษแก้วที่ยังไม่ได้ทำความสะอาดจะถูกคัดแยกและเก็บไว้เพื่อดำเนินการต่อภายหลัง

ในปี 2561 ไทยเบฟรับซื้อเศษแก้วที่ยังไม่ได้ทำความสะอาดจากซัพพลายเออร์รายย่อยในชุมชน 378 ราย เป็นจำนวน 8,790,537.20 กิโลกรัม เป็นมูลค่า 20,625,924.20 บาท หากใช้การประเมินอัตราการสร้างงาน 1 ครอบครัวต่อ 1 ซัพพลายเออร์ในการคำนวณรายได้สำหรับครอบครัว/ซัพพลายเออร์ การสร้างงานนี้ช่วยสร้างรายได้เสริมจากการเก็บเศษแก้วภายในชุมชนและเป็นการลดขยะที่อาจเป็นอันตรายต่อชุมชนลงด้วย รายได้ที่ได้รับในปี 2561 คือ 54,565.90 บาทต่อครอบครัวต่อซัพพลายเออร์ ซึ่งช่วยให้ครอบครัวสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้
การผลิตก๊าซชีวภาพ
ไทยเบฟมีโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพสองแห่งเพื่อรองรับการผลิตไอน้ำจากกระบวนการผลิต ปริมาณของก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้นั้นมากกว่าความต้องการในกระบวนการผลิตของโรงงานเอง ดังนั้น ก๊าซชีวภาพส่วนเกินจึงต้องทำการเผาทิ้ง ไทยเบฟจึงได้ติดตั้งเครื่องปั่นไฟ โดยใช้ก๊าซชีวภาพส่วนเกินของแต่ะโรงงาน เพื่อลดปริมาณการเผาก๊าซชีวภาพทิ้งเพื่อสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้า

ในปี 2561 ปริมาณไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตจากเครื่องปั่นไฟโดยใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงคือ 10,652,495 กิโลวัตต์ ซึ่งได้นำไปใช้ในกระบวนการผลิต 684,555 กิโลวัตต์ และขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 9,967,939 กิโลวัตต์

ไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซชีวภาพมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลโดยทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ไทยเบฟช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งมอบไฟฟ้าที่สะอาดยิ่งขึ้นให้กับสังคม ด้วยการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ปริมาณไฟฟ้า 9,967,939 กิโลวัตต์ที่ขายให้กับกฟภ.ช่วยให้กฟภ.หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปได้ 5,802 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากการที่กฟภ.ไม่ต้องผลิตด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล ตัวแปรค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคือ 0.5821 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/กิโลวัตต์

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5,802 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าที่หลีกเลี่ยงได้นั้นช่วยให้ กฟภ. เตรียมตัวรับภาษีคาร์บอนที่คาดว่าในอนาคต ประเทศไทยอาจมีการประกาศใช้ ราคาคาร์บอนในประเทศไทยระหว่างปี 2561 เฉลี่ยอยู่ที่ 21.37 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ข้อมูลด้านสถานการณ์การปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5,802 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าที่หลีกเลี่ยงได้นั้นจึงมีมูลค่าเทียบเท่า 123,989 บาทในปี 2561 ราคาคาร์บอนเฉลี่ยอยู่ที่ 21.37 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า