หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืน June 1, 2019
“ไทยเบฟร่วมสร้างชุมชนดีมีรอยยิ้ม” กับงานด้านการบริหารจัดการน้ำ
จิตอาสาร่วมใจสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน 10 แห่งที่ป่าเขาราวเทียน จังหวัดชัยนาท
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาชุมชนขึ้น โดยนำเอากลุ่มพนักงานจิตอาสาของไทยเบฟไปช่วยกันสร้างธนาคารน้ำใต้ดินและปลูกต้นไม้เพื่อความอุดมสมบูรณ์ที่ป่าเขาราวเทียน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ 1-2 กันยายน 2561 จิตอาสากว่า 50 คนได้มีโอกาสศึกษาพื้นที่ของป่าเขาราวเทียนและแลกเปลี่ยนความรู้กับคนในชุมชนในการพูดคุยเสวนากันเพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าบริเวณนี้ให้เป็นจุดท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทำการปลูกต้นไม้กว่า 500 ต้นในป่า และสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน 10 แห่งให้กับชุมชน ธนาคารน้ำใต้ดินจะช่วยเก็บกักน้ำเอาไว้ภายในชั้นหินใต้ดินในระหว่างฤดูฝน ธนาคารน้ำใต้ดินจะช่วยดูดซับน้ำฝนและเก็บกักไว้เพื่อใช้ในหน้าแล้งได้
โครงการพัฒนาน้ำ ชีวิต และคุณภาพชีวิต ด้วยระบบบริหารจัดการน้ำสำหรับชุมชน และต้นแบบของทฤษฎีทางการเกษตรแบบใหม่
ด้วยเข้าใจถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จึงมุ่งมั่นดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยใช้แนวคิดตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มาเป็นแรงบันดาลใจในการทำความดี “โครงการพัฒนาน้ำ ชีวิต และคุณภาพชีวิต” จึงถูกดำเนินการโดยมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อทำการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและป่าต้นน้ำเพื่อช่วยพัฒนาความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น
พื้นที่ 1
บ้านปากซวด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎ์ธานี (ฟื้นฟูป่าต้นน้ำด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินหินก่อ รัศมี 11.00 เมตร ฝายสันกว้าง 3.50 เมตร สูง 8.40 เมตร ลึก 1.30 เมตร ขุดลอกฝายชะลอน้ำเป็นพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร

ผลลัพธ์
บ้านปากซวด อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎ์ธานี เพิ่มปริมาณน้ำสำรองพื่อการเกษตรไว้ใช้ในฤดูแล้งและลดปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน ผู้ได้รับประโยชน์คือ 3 หมู่บ้านที่ประกอบไปด้วย 120 ครัวเรือน 600 คน และพื้นที่การเกษตร 350 ไร่
พื้นที่ 2
บ้านวังศรีไพร ตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย (ฟื้นฟูพื้นที่เขตสงวนวังปลาด้วยการขุดลอกลำคลองเป็นระยะ 680 เมตร เป็นพื้นที่ราว 16,000 ตารางเมตร และดำเนินการตามแนวทฤษฎีใหม่ของระบบการกระจายน้ำ

ผลลัพธ์
บ้านวังศรีไพร ตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เพิ่มปริมาณน้ำได้มากกว่า 16,000 ตารางเมตรเพื่อใช้ในพื้นที่เพาะพันธุ์ปลาในช่วงฤดูแล้ง มีชาวบ้าน 5 รายในตำบลดงเดือยที่นำเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปทดลองใช้ในการจัดการพื้นที่ทางการเกษตร
จิตอาสา “สร้างฝายชะลอน้ำ สืบสานชุมชนยั่งยืน” บ้านนาสวน ตำบลนาสวน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
พื้นที่ป่าในบริเวณนี้ยังคงอุดมสมบูรณ์และถือเป็นป่าต้นน้ำ โดยมีลำธารสั้นๆ ไหลไปสู่เขื่อนศรีนครินทร์ ชุมชนแถบนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงจึงหาเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตร พวกเขาเข้าใจถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรักษาวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของพวกเขาเอาไว้ และช่วยให้พื้นที่บริเวณนี้ยังคงอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ประชารัฐ รักสามัคคี กาญจนบุรี จำกัด ร่วมมือกับชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พนักงานจิตอาสาจากไทยเบฟ กับเหล่าครู นักเรียน และเกษตรกรในพื้นที่ ช่วยกันสร้างฝายแบบง่ายๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้เพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่ในครั้นี้ เป็นการผสมผสานระหว่างฝายชะลอน้ำแบบหินเรียง ที่เป็นการเรียงหินที่ฐานกว้างเพื่อชะลอการไหลของน้ำ ซึ่งช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นให้เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศและชุมชนริมสองฝั่ง นอกจากนี้ ยังมีการสร้างฝายหินก่อที่สร้างขึ้นในเล้าหมู เนื่องจากในบริเวณนี้มีต้นไผ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ผนวกกับพื้นดินที่เป็นหินทราย จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างฝาย งบประมาณนั้นใช้น้อยมาก แต่สามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจภายในชุมชนได้เป็นอย่างดี พวกเขาสร้างฝายชะลอน้ำทั้งหมด 10 แห่ง โดยมี 2 แห่งอยู่ในเล้าหมู ซึ่งจะช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ
“การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่การเกษตร” ที่ไทยเบฟช่วยสร้างต้นแบบ ตำบลสัมมาชีพ ตำบลบัวใหญ่ จังหวัดน่าน
ตำบลบัวใหญ่ในอำเภอนาน้อยมีการเรียนรู้อยู่เสมอ พวกเขาใช้เครื่องมือในการวางแผนชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาผ่านกิจกรรมต่างๆ แต่พวกเขายังขาดการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้น พวกเขาจึงพัฒนาระบบฐานข้อมูลในทุกๆ มิติ ตำบลบัวใหญ่มีแหล่งน้ำต้นทุนเป็นลำห้วย 214 ลำห้วย อย่างไรก็ตาม มีเพียงแค่ 4 ลำห้วยที่มีน้ำไหลตลอดปี ชุมชนจึงเผชิญกับปัญหาต่างๆ อาทิ การทำเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว การบุกรุกพื้นที่ป่า การบริหารจัดการน้ำเพื่อทำการเกษตรบนพื้นที่สูง ปัญหาสุขภาพจากการเกษตร และความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

ปัญหาเหล่านี้ บวกกับความตั้งใจของชุมชนและการสนับสนุนของภาคธุรกิจและองค์กรภาคี รวมถึงไทยเบฟ จึงเกิดแนวคิด การบริหารจัดการน้ำต้นทุนในพื้นที่การเกษตรผสมผสาน เพื่อต่อยอดและขยายแนวคิด 1 ไร่ เกษตรอินทรีย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อการฟื้นฟูป่าต้นน้ำน่าน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนอย่างสิ้นเชิง

กิจกรรมที่ไทยเบฟช่วยพัฒนาและสนับสนุนในการบริหารจัดการน้ำเพื่อพัฒนา 1 ไร่เกษตรอินทรีย์
  • ไทยเบฟสนับสนุนการติดตั้งอุปกรณ์ไฮดรอลิกเพื่อสูบน้ำขึ้นที่สูงเพื่อทำการกักเก็บน้ำและสร้างฝายชะลอน้ำ 3 แห่ง
  • ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ระบบตะบันน้ำ 11 จุด แต่ละจุดจะให้น้ำแก่พื้นที่การเกษตรโดยรอบ
  • เริ่มต้นกองทุนของชุมชนเพื่อทำการเก็บออมเงินและใช้เงินนี้ในการพัฒนาปรับปรุงฝายชะลอน้ำและระบบน้ำในพื้นที่
ขยายขอบเขตการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ / 1 ไร่ เกษตรอินทรีย์
  • ชุมชนนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูก 30 ต้นต่อไร่
  • สร้างระบบประปาภูเขา เป็นระยะทาง 9,622 เมตร
  • เชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดน่านให้เป็นนโยบายประจำจังหวัด
ในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำเพื่อทำการเกษตร ในพื้นที่สูง ผลสำเร็จที่ได้คือ
  • ระบบตะบันน้ำ : 11 จุด พื้นที่รับประโยชน์ 11 ไร่
  • ระบบฝายชะลอน้ำ: 8 ฝาย พื้นที่รับประโยชน์ 24 ไร่
  • ระบบประปาภูเขา: ระยะทาง 9,622 เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่
  • สมาชิกผู้รับประโยชน์ 35 ราย ปริมาณน้ำจำนวน 15 ถัง 1,178.1 ลิตร เท่ากับ 17,671.5 ลิตร
    (17.67150 ลูกบาศก์เมตร) 10,800 ลิตรต่อวัน

ระบบตะบันน้ำ

ระบบประปาภูเขา
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
เปิดมหกรรมความยั่งยืน SX 2022 ชูพันธกิจความร่วมมือมิติใหม่ สร้างสมดุลที่ดีเพื่อโลก
ไทยเบฟ ร่วมกับ สถาบันน้ำฯ (สสน.) วางโมเดล บริหารความเสี่ยง-จัดการน้ำของชุมชนอย่างยั่งยืน
ไทยเบฟกับโควิด 19
ไทยเบฟได้ยึดมั่นในการปฎิบัติตามนโยบายทางด้านสุขภาพและโภชนาการ รวมถึง อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน พันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงผู้บริโภค
เวทีแสดงวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนขององค์กรชั้นนำ เพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม
บริษัท ซีเอซี จำกัด (C asean) จัดงาน Thailand Corporate Sustainability Symposium เวทีแสดงวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนขององค์กรชั้นนำ เพื่อแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม
UNEP Conference
บริษัท ซี เอ ซี จำกัด (C asean) ตอกย้ำการเป็นผู้นำของศูนย์กลางความเชื่อมโยงเครือข่าย การทำงานทุกภาคส่วนสู่การพัฒนาประเทศเพื่อความยั่งยืนในระดับภูมิภาคอาเซียน