SUSTAINABILITY REPORT 2020

Close
หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2563 / แบ่งปันคุณค่าให้คนทั่วโลก
GRI 103-1, GRI 103-2, GRI 103-3, GRI 203-1, GRI 203-2, GRI 413-1
การดูแลและแบ่งปัน การสร้างคุณค่าให้แก่สังคม
ไทยเบฟสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมมากมายหลายด้าน โดยให้ความสำคัญในด้านสาธารณสุข การศึกษา ศิลปะ กีฬา และการพัฒนาชุมชน ไทยเบฟยังคงยึดมั่นในการดำเนินโครงการต่างๆ ท่ามกลางช่วงเวลาที่ท้าทายเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนยังคงมีความเชื่อมั่น โดยการริเริ่มโครงการใหม่ๆ เพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคมที่กำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงและภาวะที่ยากลำบากที่สุด
การดูแลและแบ่งปันการสร้างคุณค่าให้แก่สังคม
ในปี 2563 ประเทศไทยและทั่วโลกได้เผชิญกับความท้าทายเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรทั่วภูมิภาคอาเซียน เพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ครั้งนี้ ไทยเบฟในฐานะผู้นำทางธุรกิจยังคงให้ความสำคัญกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่หลากหลายทั่วทั้งประเทศและครอบคลุมประชากรหลายกลุ่มทั่วประเทศตั้งแต่เยาวชนจนถึงผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นการดำเนินโครงการใน 5 มิติหลัก ดังนี้ 1) ด้านสาธารณสุข 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านกีฬา 4) ด้านศิลปะและวัฒนธรรม และ 5) ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้ทุกคนในสังคมให้ได้มีโอกาสบรรลุศักยภาพของตน ภายใต้คำกล่าวที่ว่า “ไทยเบฟ...อยู่กับคุณทุกช่วงเวลา”
ในปี 2563 ไทยเบฟได้ใช้งบประมาณจัดสรรกว่า 600 ล้านบาทให้แก่ 5

การพัฒนาด้านสาธารณสุข
31%

การพัฒนาด้านการศึกษา
8%

การพัฒนาด้านกีฬา
36%

การอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม
14%

การพัฒนาชุมชนและสังคม
11%
ไทยเบฟยังคงมุ่งเน้นให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ ตั้งแต่การส่งเสริมน้ำสะอาด การปลูกป่าเพื่อรักษาต้นน้ำและลดก๊าซเรือนกระจก การมอบผ้าห่มในถิ่นทุรกันดาร การเพิ่มรายได้ท้องถิ่นผ่านโครงการประชารัฐรักสามัคคี การมอบทุนการศึกษา โรงเรียนร่วมพัฒนา นอกจากนี้ไทยเบฟยังให้การสนับสนุนด้านศิลปะวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน และยังได้ริเริ่มโครงการด้านสาธารณสุขเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 รวมถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อคุ้มครองสุขภาพของพนักงานและส่วนรวมอีกด้วย

ไทยเบฟกำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลเพื่อดำเนินโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งแบบระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยจัดให้มีคณะทำงานในการพัฒนางานแต่ละด้าน ซึ่งแบ่งการดำเนินงานออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
  • 1. การจัดการจากส่วนกลาง ประกอบด้วยกลุ่มโครงการพัฒนาชุมชน กลุ่มโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มประสานงานภายนอกองค์กร กลุ่มโครงการไทยทาเลนท์ กลุ่มโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม C asean กลุ่มสำนักทรัพยากรบุคคล และกลุ่มสำนักสื่อสารองค์กร

    ช่วงกลางปี 2562 คณะทำงานกิจกรรมเพื่อสังคมจากส่วนกลาง ได้จัดระบบการดำเนินงานของคณะทำงานแบบบูรณาการโครงการ โดยการจัดประชุมรายสัปดาห์ร่วมกันระหว่างกลุ่มงานที่รับผิดชอบโครงการใน 5 มิติ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น หาความเชื่อมโยงของโครงการที่แต่ละฝ่ายรับผิดชอบ จัดสรรการใช้งบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรและส่วนรวม ทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานได้เพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว
  • 2. การจัดการในระดับพื้นที่รอบโรงงาน ประกอบด้วย หน่วยงานมวลชนสัมพันธ์และแผนสิ่งแวดล้อมของแต่ละโรงงาน ซึ่งทำงานประสานกับส่วนกลางอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ แต่ละหน่วยงานสามารถดำเนินโครงการที่ริเริ่มเอง หรือร่วมมือกับกลุ่มงานต่าง ๆ ในสังคม ร้อยละ 100 ของสถานประกอบการหรือโรงงานในกลุ่มไทยเบฟที่มีชุมชนโดยรอบ มีการจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนเพื่อตอบรับกับความต้องการของชุมชนเหล่านั้น ช่วยทำให้การดำเนินงานของไทยเบฟที่อาจมีผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อชุมชนโดยรอบทำได้อย่างครอบคลุม
    ในการริเริ่มโครงการและกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไทยเบฟมีขั้นตอนดำเนินงานและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังนี้
    • ทำการประเมินผลกระทบทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการสานสัมพันธ์และสอบถามความคิดเห็นหรือความต้องการจากกลุ่มชุมชนเป้าหมาย ทั้งที่เป็นชุมชนรอบโรงงาน รอบสถานประกอบการทั้งหมด และชุมชนที่ใกล้ชิดกับผลิตภัณฑ์ของไทยเบฟ ด้วยวิธีการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การจัดประชุมสาธารณะ การพูดคุยกับกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ปกครอง คณะกรรมการโรงเรียน หรือการจัดกลุ่มประชุมย่อยที่เป็นกันเองรายสัปดาห์ (สภากาแฟ)
    • การคัดเลือกโครงการและการดำเนินการร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างประโยชน์แก่สิ่งแวดล้อมและชุมชน ตามเป้าประสงค์ของโครงการ โดยได้พิจารณาดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
    • ทุกโครงการที่จัดทำจะต้องมีการวัดผลลัพธ์การทำงานอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการวัดความพึงพอใจของชุมชน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวัดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการติดตามรายงานความคืบหน้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อาทิ หน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัย ประชาสังคม
ไทยเบฟร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นต่าง ๆ จัดตั้งเป็นคณะกรรมการความปลอดภัย คณะกรรมการให้คำปรึกษา รวมถึงทีมงานที่รับฟังข้อร้องเรียนของชุมชนเพื่อบริหารและจัดการกับผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น แผนกมวลชนสัมพันธ์ แผนกสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานในกลุ่มไทยเบฟทั่วประเทศ โดยจะมีการติดตามและรายงานผลการดำเนินการเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่ไทยเบฟให้การสนับสนุนสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนและเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง