รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2562

Close
หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2562 / แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ
แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ
GRI 102-18, GRI 102-29, GRI 103-1, GRI 103-2, GRI 103-3
ไทยเบฟน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาความยั่งยืน พร้อมทั้งยึดถือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 17 ประการ มาประกอบการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนา เพื่อผลักดันให้องค์กรดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ต่อสิ่งแวดล้อม และต่อสังคมโดยรวม

โดยในปี 2562 ไทยเบฟเข้าร่วมเป็นสมาชิกข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) เพื่อร่วมมือในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบใน 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน รักษาสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านทุจริต


ความรู้

  • ข้อมูลเชิงลึก
  • ความเข้าใจที่ถูกต้อง
  • การให้ความสำคัญกับความรู้ และประสบการณ์


คุณธรรม

  • ความซื่อสัตย์
  • ความบริสุทธิ์ใจ
  • ความอุตสาหะ
  • ความมีสติ
  • ความอ่อนน้อมถ่อมตน
ไทยเบฟน้อมนำกรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาความยั่งยืนซึ่งประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี หากดำเนินตามหลัก 3 ประการ ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้และคุณธรรม บริษัทจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ พร้อมทั้งนำพาองค์กรไปสู่ความก้าวหน้าอย่างสมดุลใน 4 มิติ คือ สิ่งแวดล้อม สังคม ศิลปวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันภายใต้กลยุทธ์การพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร ไทยเบฟเชื่อมั่นว่า จะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และสร้างโอกาสที่ไร้ขีดจำกัดให้แก่ธุรกิจและสังคมโดยรวมได้ต่อไป

หลักการทั้งสองมุ่งเน้นการใช้ความรู้ ประสบการณ์ และความคิดในการสร้างความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคง ส่งเสริมการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล นอกจากนี้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ 2020 ของไทยเบฟ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อก้าวสู่การเป็น “ผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มในภูมิภาคอาเซียนอย่างมั่นคงและยั่งยืน” และมุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมและการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มี​ส่วนได้ส่วนเสียให้ยั่งยืนไปพร้อมกับการเติบโตขององค์กร
สิ่งแวดล้อม
การจัดการดูแลผลกระทบจากธุรกิจ
สังคม
การดูแลและแบ่งปัน
ศิลปะและวัฒนธรรม
การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
เศรษฐกิจ
การสร้างคุณค่าทางธุรกิจ