รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2562

Close
หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2562 / ใส่ใจดูแลบุคลากร ลูกค้า และผู้บริโภค
โอกาสไร้ขีดจำกัด
GRI 404-1, GRI 404-2, GRI 404-3
ไทยเบฟสร้างโอกาสให้กับพนักงานทุกคน ภายใต้แนวคิด โอกาสไร้ขีดจำกัด ที่ประกาศใช้ในองค์กรตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้ก้าวสู่จุดหมายในชีวิต มีความก้าวหน้าในอาชีพ ได้รับโอกาสเรียนรู้ พัฒนาทักษะ เสริมสร้างสมรรถนะ และเติบโตไปพร้อมกับองค์กร ขณะเดียวกันยังสามารถสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์อันเข้มแข็ง เพื่อทำประโยชน์ให้ชุมชนและสังคม และร่วมกันสร้างความเป็นหนึ่งเดียวเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ ความสุขและความก้าวหน้าของพนักงาน นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
แบ่งปันคุณค่า
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
“หน้าที่ของผมในฐานะผู้นำไทยเบฟคือ การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าที่มาจากการเติบโตไปสู่ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้กับพนักงาน เราทำงานด้วยความจริงจัง เพื่อสร้างโอกาสไร้ขีดจำกัดที่ไทยเบฟ”


ไทยเบฟเชื่อว่า ความสุขและความก้าวหน้าของพนักงานเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ส่งเสริมให้พนักงานอยู่กับองค์กรได้ยาวนาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยเบฟจัดหาให้กับพนักงานมาโดยตลอด เป็นผลให้พนักงานของไทยเบฟ เป็นพนักงานที่มีความสามารถ ทำงานอย่างมีความสุข อยู่กับองค์กรอย่างยาวนาน สร้างรากฐานสำหรับการเติบโตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กร พร้อมทั้งการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
โดยมียุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการบุคลากร 7 ประการ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1
โครงสร้างและบทบาทที่ชัดเจน
ปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของงานแต่ละตำแหน่ง เพื่อบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ 2020 และอนาคต

ยุทธศาสตร์ที่ 2
ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่แข่งขันได้กับตลาด
บริหารและวิเคราะห์ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสวัสดิการ เพื่อสร้างเป็นมาตรฐานที่เหมาะสมในทุกบริษัทของกลุ่มไทยเบฟ โดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและความต้องการของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ที่ 3
การบริหารผลการดำเนินงานที่โดดเด่น
สร้างระบบบริหารผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างครอบคลุม ขยายช่องทางการเข้าใช้งาน เพื่อตอบโจทย์พนักงานในแต่ละช่วงอายุ การประเมินผลอย่างเป็นธรรม รวมถึงการวางแผนพัฒนาทักษะ เพื่อให้พนักงานมีศักยภาพ ทำงานได้ตามเป้าหมายที่ตนได้วางไว้ ส่งเสริมการมีผลงานให้เป็นเลิศ

ยุทธศาสตร์ที่ 4
การพัฒนาพนักงานแบบองค์รวม
ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้เพื่อให้พนักงานเกิดการพัฒนาตนเอง ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบ 70: 20:10 รวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการใช้แผนการพัฒนารายบุคคล (IDP) และโปรแกรมการติดตามความก้าวหน้าทางอาชีพของพนักงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 5
การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่ง และบุคลากรเชิงรุก
ยกระดับการเตรียมความพร้อมของพนักงานและผู้บริหารในการสืบทอดตำแหน่ง ให้มีความพร้อมและความสามารถ ทันกับการเติบโตของธุรกิจ และเสริมสร้างความยั่งยืนขององค์กร

ยุทธศาสตร์ที่ 6
การสรรหาพนักงานที่มีศักยภาพและการดูแลพนักงานใหม่
พัฒนากระบวนการในการค้นหาตลอดจนการคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ รวมถึงการจัดหาโครงการใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมงานในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงและดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ ที่มองหาองค์กรที่มีความคล่องตัวและมีความสามารถปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี

ยุทธศาสตร์ที่ 7
การส่งเสริมวัฒนธรรมที่สร้างความผูกพันต่อองค์กร
สร้างความรู้ ความเข้าใจ ความผูกพัน และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียว (Oneness) ผ่านค่านิยมของกลุ่มไทยเบฟ รวมถึงกระตุ้นการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมตามค่านิยมองค์กร
โอกาสไร้ขีดจำกัดในไทยเบฟมาจากการขยายธุรกิจทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เช่น เวียดนาม เมียนมา มาเลเซีย และสิงคโปร์ ส่งผลให้มีโอกาสอย่างไร้ขีดจำกัดสำหรับพนักงานภายใต้กลุ่มไทยเบฟเพิ่มสูงขึ้นและยังทำให้ไทยเบฟต้องปรับโครงสร้างองค์กร ปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาธุรกิจตามวิสัยทัศน์ 2020 เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยไทยเบฟให้ความสำคัญกับ 3 ปัจจัยหลัก คือ การเติบโตผ่านการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การมีส่วนร่วมของพนักงานผ่านค่านิยมกลุ่มไทยเบฟและวัฒนธรรมองค์กรด้านการประเมินผลงาน และการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตผ่านประสบการณ์ดิจิทัล
การเติบโตผ่าน “การพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ”
ยุทธศาสตร์ที่
1
ยุทธศาสตร์ที่
4
ยุทธศาสตร์ที่
5
ด้วยโครงสร้างการทำงานที่แบ่งออกเป็นสายผลิตภัณฑ์และสายงานสนับสนุนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ชัดเจน ไทยเบฟได้ออกแบบกลุ่มงานตามสายอาชีพ กำหนดเส้นทางการเติบโตในสายงาน และการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นของแต่ละตำแหน่ง เปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้า วางแผนเส้นทางในอาชีพการทำงานของตน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพสำหรับพนักงาน และการให้ความใส่ใจในการทำแผนพัฒนารายบุคคล ที่ช่วยสนับสนุนพนักงานให้ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะ พร้อมที่จะเติบโตอย่างก้าวหน้าในสายอาชีพตามที่มุ่งหวังต่อไป

ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ออกแบบเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพของพนักงานและพัฒนารายละเอียดใน 14 สายอาชีพ ครอบคลุมร้อยละ 85 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด แล้วเสร็จในปี 2562 โดยมีแผนจะออกแบบและพัฒนาให้เสร็จสิ้นทั้ง 22 สายอาชีพในปี 2563
22 สายอาชีพในไทยเบฟ
2. พัฒนาศักยภาพของพนักงานตามระดับพนักงานอย่างต่อเนื่อง (Upskill) โดยแบ่งพนักงานออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับพนักงานปฏิบัติการ (Spring & Streams) ระดับผู้บริหาร (River) และกลุ่มผู้บริหารระดับสูง (Ocean) โดยใช้หลักการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในรูปแบบ 70: 20: 10 คือ ร้อยละ 70 ได้จากการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ร้อยละ 20 คือการเรียนรู้จากบุคคลอื่น และ ร้อยละ 10 เกิดจากการเรียนรู้จากการเข้าอบรมอย่างเป็นทางการ

โดยมีการแบ่งเป็นโปรแกรมการพัฒนา 4 ประเภท คือ
  • โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะหลัก (Core Competency)
  • โปรแกรมพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน (General Skills)
  • การอบรมหลักสูตรตามสายงาน (Functional Competency Development)
  • โปรแกรมด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership Competency)
โดยประยุกต์ใช้แนวทางการวัดประสิทธิผลการเรียนรู้จากการอบรมพนักงานของเคิร์กแพทริก (Kirkpatrick Model) โดยได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพผู้นำสำหรับพนักงานที่มีศักยภาพโดดเด่นผ่านโปรแกรมการเรียนรู้ตามระดับงานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้บริหารในระดับสูงจนถึงพนักงานระดับหัวหน้างาน ในปี 2562 รวมแล้วเป็นจำนวนพนักงานถึง 167 คน
แนวทางการพัฒนาศักยภาพ

4 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการกำหนด IDP ของตนเอง

3. จัดทำแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) ร่วมกับพนักงานครอบคลุมร้อยละ 100 ของพนักงานในระดับ 4 ขึ้นไป ในกลุ่มไทยเบฟ โออิชิ และเสริมสุข เพื่อปรับปรุงจุดอ่อนและเสริมสร้างจุดแข็ง สำหรับการเตรียมความพร้อมให้พนักงานที่จะก้าวไปสู่ระดับงานที่สูงขึ้นในสายอาชีพของตน พร้อมทั้งมีโปรแกรมติดตามความก้าวหน้าของแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคล เพื่อให้แน่ใจว่า แผนพัฒนาเหล่านั้นจะถูกดำเนินการอย่างจริงจังและบรรลุผลสำเร็จ
4. ดำเนินการพัฒนาพนักงานตามสายอาชีพ (Functional Training Program) หลังจากที่ได้ออกแบบแล้วเสร็จ โดยใช้เปิดสอนแก่พนักงานแล้ว จำนวน 3 กลุ่มงาน คือ สายงานขาย สายงานการเงินและบัญชี และสายงานทรัพยากรมนุษย์ โดยครอบคลุมถึงการสร้างโอกาสในการพัฒนาสายอาชีพทั้งหมดกว่า 5,400 คน ในปี 2562
5. ออกแบบโปรแกรมการพัฒนาพนักงานเพื่อเพิ่มทักษะใหม่ให้กับ พนักงาน (Reskill) รวมถึงการพัฒนาพนักงานให้มีทักษะข้ามสายงาน (Multi-Skill) ส่งผลทำให้พนักงานของไทยเบฟ มีการหมุนเวียนงานไปสู่ตำแหน่งงานอื่นภายในองค์กรเฉลี่ยประมาณร้อยละ 27 ของจำนวนตำแหน่งทั้งหมดที่เปิดรับของไทยเบฟในปี 2562
6. สรรหาพนักงานและเตรียมความพร้อมสำหรับการสืบทอดตำแหน่งที่สำคัญของบริษัท โดยไทยเบฟสามารถจัดหาพนักงานที่จะดำรงตำแหน่งผู้สืบทอดได้คิดเป็นร้อยละ 94 ของตำแหน่งสำคัญทั้งหมด ทั้งนี้ การเติบโตขยายตัวทางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องเป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างโอกาสให้พนักงานเติบโตในระดับภายในประเทศและในระดับภูมิภาค เป็นเวทีของการสืบทอดตำแหน่งของพนักงานให้สามารถพัฒนาตนเอง นำไปสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำขององค์กรได้ในปัจจุบันและอนาคต

เส้นทางอาชีพที่คุณออกแบบได้
การมีส่วนร่วมของพนักงานผ่านค่านิยมกลุ่มไทยเบฟ และวัฒนธรรมองค์กรด้านการประเมินผลงาน
ยุทธศาสตร์ที่
2
ยุทธศาสตร์ที่
3
ยุทธศาสตร์ที่
7

Asia’s Best Employer Brand Awards 2018

สิ่งที่ไทยเบฟให้ความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การสร้างวัฒนธรรมที่เน้นพันธสัญญาและผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ผ่านการบริหารผลการดำเนินงานขององค์กรที่โดดเด่น โดยในปี 2562 พนักงานร้อยละ 100 ได้รับการประเมินผล รวมถึงผ่านการเปรียบเทียบและจัดลำดับคะแนนการประเมินของพนักงานในกลุ่มเดียวกัน และเชื่อมโยงกลับมาสู่กรอบการให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่แข่งขันกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างผลการปฏิบัติงานกับแรงจูงใจหรือผลตอบแทนหลังการประเมินประจำปี รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนของค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นกับผลการปฏิบัติงานในปีล่าสุด ทำให้อัตราเฉลี่ยของโบนัสสำหรับผู้ที่ได้รับการประเมินผลงานในระดับยอดเยี่ยมเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3 เท่าของค่าเฉลี่ย ผลตอบแทนหลังการประเมินของผู้มีผลงานในระดับดี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยเดิม 1.5 เท่า เมื่อเทียบกับปีฐาน
1. ไทยเบฟปลูกฝังความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรผ่านวิธีการดำเนินงาน Say-Stay-Strive* เพื่อพัฒนาแผนและกระบวนการสร้างความผูกพันให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะช่วยทำให้อัตราการลาออกลดลงแล้ว ยังมีส่วนทำให้พนักงานสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับไทยเบฟอย่างสม่ำเสมอ
*จากแนวคิดของ Aon Hewitt (2558)
ไทยเบฟได้รับ 3 รางวัลในระดับสากลที่จัดโดยจากสถาบัน Employer Branding Institute และ World HRD Congress ณ สิงคโปร์ ในฐานะองค์กรที่น่าทำงาน จาก Asia’s Best Employer Brand Awards 2018 จากการสำรวจองค์กรในทวีปเอเชีย 36 ประเทศ ประกอบด้วย 1) รางวัลนายจ้างยอดเยี่ยม (Best Employer Brand Award) 2) รางวัลนายจ้างในฝันแห่งปี (Dream Employer of the Year Award) และ 3) รางวัลการบริหารพนักงานศักยภาพสูงยอดเยี่ยม (Awards of Talent Management)
อัตราความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร
% ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร**
ปี 2558-2559 ปี 2560-2561
61 69
**การสำรวจความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรประจำปี 2562-2563 ดำเนินการในช่วงธันวาคม 2562 - กุมภาพันธ์ 2563
อัตราการลาออกของพนักงาน
อัตราการลาออกของพนักงานทั้งหมด
ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562
14.8 12.86 12.87 11.48 11.52
ไม่รวมถึงบริษัทที่มีการควบรวมกิจการในกลุ่มธุรกิจอาหาร


Best Companies to Work For in Asia Award

นอกจากนี้ ไทยเบฟยังได้รับรางวัล HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2019 (Thailand Edition) จากผลการสำรวจบริษัทชั้นนำที่มีคะแนนความผูกพันและวัฒนธรรมองค์กรยอดเยี่ยม ประจำปี 2562 จากนิตยสาร HR Asia Magazine ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางและความมุ่งมั่นที่จะยกระดับการบริหารบุคลากรของกลุ่มไทยเบฟให้ก้าวขึ้นสู่องค์กร “นายจ้างดีเด่นในระดับอาเซียน” (ASEAN Best Employer) ในอนาคต
ดร.พิษณุ วิเชียรสรรค์
กรรมการและรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มเทคโนโลยีและวิศวกรรม
ร่วมกันผสานพลัง
Collaboration
“ลดอีโก้ ลดความเห็นแก่ตัว ลดความเป็นซูเปอร์สตาร์ มุ่งความสำเร็จร่วมกันแบบ
One Goal, One Team”
คุณสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร
กรรมการและรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มการเงินและบัญชี
สร้างสรรค์คุณค่า
Creating Values
“งานทุกอย่างจะสำเร็จได้ถ้าเราร่วมมือกัน เน้นประโยชน์ส่วนรวม
ถ้าองค์กรสำเร็จ เราก็สำเร็จ
ขอให้ทุกคนเชื่อมั่นและมุ่งมั่น ที่จะประสบความสำเร็จ อย่ายอมแพ้ง่าย ๆ”
คุณอวยชัย ตันทโอภาส
กรรมการและรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุดกำกับและดูแลปฏิบัติการประเทศไทย
เอาใจใส่ต่อผู้เกี่ยวข้อง
Caring for Stakeholders
“ถ้าไม่ใช่ท่านแล้วจะเป็นใคร... และถ้าไ่ม่เริ่มเดี๋ยวนี้จะเริ่มเมื่อไร?
If not you, who?
If not now, When?

ทุกเรื่องต้องเริ่มที่ตัวคุณ ..
It starts with YOU.”


2. ไทยเบฟประสบความสำเร็จในการใช้ค่านิยมกลุ่มไทยเบฟ (ThaiBev Global Values) ผ่านการแสดงออกพฤติกรรม 3 ด้าน หรือ 3C เพื่อให้พนักงานในกลุ่มไทยเบฟทั่วโลกร่วมกันยึดถือและเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ร่วมกันผสานพลัง (Collaboration) สร้างสรรค์คุณค่า (Creating Values) และเอาใจใส่ต่อผู้เกี่ยวข้อง (Caring for Stakeholders) ไทยเบฟประสบความสำเร็จในการใช้ค่านิยมกลุ่มไทยเบฟ (ThaiBev Global Values) ผ่านการแสดงออกพฤติกรรม 3 ด้าน หรือ 3C เพื่อให้พนักงานในกลุ่มไทยเบฟทั่วโลกร่วมกันยึดถือและเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ร่วมกันผสานพลัง (Collaboration) สร้างสรรค์คุณค่า (Creating Values) และเอาใจใส่ต่อผู้เกี่ยวข้อง (Caring for Stakeholders)
3. ไทยเบฟเสริมสร้างการมีส่วนร่วมผ่านการประเมินผลปฏิบัติงานให้มีสัดส่วนที่สะท้อนถึงการทำงานที่แท้จริงของพนักงาน โดยกำหนดส่วนประกอบของการประเมิน คือ ตัวชี้วัดผลงานรวม (Shared KPIs) ตัวชี้วัดผลงานส่วนบุคคล (Individual KPIs) การประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน (Competency) โดยใช้ค่านิยมกลุ่มไทยเบฟ (ThaiBev Global Values) ซึ่งมีสัดส่วนแปรผันตามระดับพนักงาน ทั้งนี้ ไทยเบฟได้เพิ่มจำนวนพนักงานที่ได้รับการประเมินผลหลายมิติ (Multi-dimension) จากเดิมที่จัดตั้งแต่พนักงานระดับผู้จัดการที่มีระดับงานตั้งแต่ระดับ 10 ขึ้นไป เปลี่ยนแปลงเป็นพนักงานที่มีระดับงานระดับหัวหน้าส่วน ที่มีระดับงานตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป ทำให้สัดส่วนร้อยละของจำนวนผู้ได้รับการประเมินเพิ่มขึ้น 2 เท่าในปี 2562
เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ผ่านประสบการณ์ดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่
6
การเตรียมความพร้อมให้พนักงานมีทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งทักษะการทำงานโดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นสิ่งสำคัญที่ไทยเบฟได้จัดเตรียมให้แก่พนักงานเพื่อเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ยุคดิจิทัล ด้วยเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลมีผลต่อความสำเร็จขององค์กรเป็นอย่างมาก ไทยเบฟลงทุนพัฒนาระบบ Beverest ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบสำหรับการเชื่อมโยงการบริหารและพัฒนาบุคลากร สามารถรองรับการเก็บข้อมูลของพนักงานทุกคนทั้งในประเทศและต่างประเทศไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน พร้อมทั้งการพัฒนาคุณสมบัติเพิ่มเติมในแอปพลิเคชัน Beverest Connect และ Beverest Life รองรับการใช้งานของพนักงานทั้งหมดในองค์กร โดยในปัจจุบันมีพนักงานที่ใช้งานระบบ Beverest Connect แล้วมากถึง 38,000 คน
ขั้นตอนและสมรรถนะที่สำคัญแห่งการเรียนรู้ดิจิทัล
1
ข่าวสารข้อมูล
  • ความสามารถระบุ และค้นหาข้อมูล
  • การจัดเก็บและ จัดระเบียบข้อมูล
  • การประเมินและ ตัดสินข้อมูล

2
การติดต่อสื่อสาร
  • ความสามารถสื่อสาร ในสภาพแวดล้อมแบบดิจิทัล
  • การแบ่งปันทรัพยากรผ่านเครื่องมือออนไลน์
  • การทำงานร่วมกันผ่านเครื่องมือดิจิทัล
  • การโต้ตอบและมีส่วนร่วมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล

3
การสร้างเนื้อหา
  • ความสามารถในการสร้างและแก้ไขเนื้อหาใหม่ผ่านเครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ (เวิร์ด บล็อก รูปภาพ วิดีโอ)
  • การใช้ฟังก์ชันและสูตรการคำนวณต่าง ๆ ในการสร้างเนื้อหาเพิ่มเติม

4
ความปลอดภัย และการป้องกัน
  • ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความปลอดภัย และตัวตน
  • ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  • ความสามารถในการป้องกันข้อมูลและตัวตนแบบดิจิทัล

5
การแก้ปัญหา
  • ความสามารถระบุความต้องการและทรัพยากรดิจิทัลในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
  • การคิดค้นและสร้างโซลูชันผ่านเครื่องมือดิจิทัล
  • แก้ปัญหาความคิดผ่านทางรูปแบบดิจิทัล
แอปพลิเคชันดังกล่าวพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลแก่พนักงานให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์และลักษณะการทำงานในปัจจุบันผ่านสมาร์ทโฟน โดยไทยเบฟแบ่งระดับความรู้ ความเข้าใจด้านดิจิทัลของพนักงานเป็น 5 ระดับ ดังนี้
ทักษะระดับที่ 1:
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

ทักษะระดับที่ 2:
การติดต่อสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร

ทักษะระดับที่ 3:
การสร้างเนื้อหาผ่านสื่อดิจิทัลได้ เช่น การสร้างเอกสาร การคำนวณโดยใช้สูตร

ทักษะระดับที่ 4:
การรู้วิธีการรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย

ทักษะระดับที่ 5:
ความสามารถในการแก้ปัญหา รู้และเข้าใจว่าควรใช้วิธีการใดช่วยแก้ปัญหา ปรับปรุงกระบวนการทำงาน

ระบบ Beverest ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมในกระบวนการทำงานที่รวบรวมมากกว่า 4 แอปพลิเคชัน และอีกหลายกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนแปลงการทำงานให้ดีขึ้น และยังเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ แบ่งปันความรู้ ทักษะ และข้อมูลต่าง ๆ ให้กับเพื่อนร่วมงานในองค์กร ขณะเดียวกันพนักงานสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รับผิดชอบในความก้าวหน้าของตนเอง รับรู้โอกาสและผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่องค์กรมอบให้ บันทึกข้อมูลการอบรม และสร้างเครือข่ายของพนักงานทั่วโลก ซึ่งระบบนี้สามารถใช้งานได้ทั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างไม่มีขีดจำกัด


“All-in-One” ThaiBev smartphone portal for employees

นอกจากนี้ ไทยเบฟได้พัฒนาระบบ Thank You System ที่สร้างขึ้นเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน จัดรวมอยู่ในกลุ่มของ Beverest Life Suite ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เติมเต็มรอยยิ้ม ด้วยคำขอบคุณ” เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการชื่นชม ยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจเพื่อนพนักงานที่อุทิศตนมากกว่างานในหน้าที่ ทั้งภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน หรือระหว่างกลุ่มธุรกิจ เป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรและความเป็นหนึ่งผ่านการใช้งานระบบ ผลักดันธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับค่านิยมกลุ่มไทยเบฟ (ThaiBev Global Values)

แบ่งปันคุณค่า
ดร. เอกพล ณ สงขลา
รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มทรัพยากรบุคคล
“ผมเชื่อในศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของทุกคน”
“กลุ่มไทยเบฟกำลังเดินทางสู่ช่วงปี 2020 ในฐานะบริษัทชั้นนำระดับอาเซียน ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 60,000 คน ซึ่งกว่าครึ่งเป็นพนักงานรุ่นใหม่หรือเจนวาย (Generation Y) กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จคือการเพิ่มพูนศักยภาพของพนักงานในยุคดิจิทัล ร่วมกันผสานพลังทั้งกลุ่มโดยเฉพาะการสร้างให้อาเซียนเป็นบ้านของเราอย่างแท้จริง ซึ่งในปีที่ผ่านมาเราเชื่อมโยงประสบการณ์พนักงานในกลุ่มด้วยระบบ Beverest ซึ่งเป็นระบบ Cloud system ทำการพัฒนาผู้มีศักยภาพของกลุ่มตั้งแต่ระดับคนรุ่นใหม่ไปถึงผู้บริหารระดับสูงร่วมกันทั้งไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และเมียนมา

นอกจากนี้ ไทยเบฟได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ Best Companies to Work for in Asia 2019 จากนิตยสาร HR Asia ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลวัฒนธรรมพนักงานระดับนานาชาติ สอดคล้องกับแนวทางโอกาสไร้ขีดจำกัด (Limitless Opportunities) ของไทยเบฟ ได้แก่ โอกาสการเติบโตในสายอาชีพ โอกาสการเชื่อมความสัมพันธ์ และโอกาสสร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อสังคม ทั้งในระดับประเทศไทยและอาเซียน”
เป้าหมายเพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ปี 2568
  • ไทยเบฟดำเนินการเสริมสร้างความผูกพันกับบุคลากรในองค์กร (Employee Engagement) อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่มีเป้าหมายเพื่อเป็นบริษัทนายจ้างดีเด่นระดับอาเซียนภายในปี 2568 ดึงดูดให้บุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาร่วมงานกับองค์กร พร้อมทั้งรักษาพนักงานที่ทำงานในองค์กร เป็นส่วนช่วยให้ไทยเบฟก้าวขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารที่มั่นคงและยั่งยืนในอาเซียน โดยไทยเบฟมีเป้าหมายว่าภายในปี 2565 อัตราความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร จะมีมากกว่าร้อยละ 75 ขึ้นไป
  • จัดทำโครงการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านทักษะและความชำนาญในการทำงานทางวิชาชีพ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานของพนักงาน ผ่านการเสริมทักษะความเชี่ยวชาญในเนื้องานเดิม (Upskill) และการเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็นในเนื้องานอื่น ๆ (Reskill) รวมถึงการสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายของบุคลากร (Mobility) โดยการเพิ่มทักษะการทำงานข้ามสายงาน (Multi-Skill) ตามแนวคิดโอกาสไร้ขีดจำกัด ซึ่งมีเป้าหมายการโอนย้ายข้ามสายงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 28 รวมถึงการเพิ่มเติมทักษะพื้นฐานในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับพนักงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่อนาคตในยุคดิจิทัล รวมถึงการเพิ่มทักษะที่ทำให้พนักงานสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานและทางธุรกิจ
  • ดำเนินการขยายขอบเขตการประเมินผลงานแบบหลายมิติ ตั้งแต่พนักงานระดับบริหารไปสู่พนักงานที่อยู่ในระดับหัวหน้าส่วน โดยมีเป้าหมายให้มีพนักงานที่ทำการประเมินผลงานแบบหลายมิตินี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของพนักงานทั้งหมดภายในปี 2563 ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะด้านการเป็นผู้นำ (Leadership Competency) อย่างมีระบบ
  • ไทยเบฟดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมการเรียนรู้และพัฒนา ซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาให้องค์กรเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2562 โครงการศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืน (ThaiBev Sustainability Academy หรือ TSA) ได้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่กระตุ้นหนุนเสริมการเรียนรู้และเพิ่มพูนความสามารถของพนักงานในการดําเนินงานอย่างยั่งยืนให้แก่กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก

    ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สำนักพัฒนาความเป็นเลิศ ผ่านคณะทำงานความยั่งยืนของไทยเบฟ ได้รวบรวมเครือข่ายองค์ความรู้ขององค์กร (Communities of Practice หรือ CoPs) เกี่ยวกับการปฏิบัติงานอย่างยั่งยืนที่ดีทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงประสบการณ์จากการเป็นสมาชิก DJSI ตั้งแต่ปี 2558 เพื่อวางแผนงานสำหรับโครงการศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรขององค์กร รวมถึงต่อยอด ออกแบบ และพัฒนาเป็นหลักสูตรของโครงการฯ และเผยแพร่ความรู้ต่อไป

    โครงการศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืนได้รับการออกแบบให้มีการทำงานร่วมกับเครือข่ายและพันธมิตร ชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการและการเยี่ยมชมสถานที่ปฏิบัติการ โครงการศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืนมุ่งมั่นในการ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าของการเติบโต” เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ 2025
  • ไทยเบฟได้ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ การใช้ระบบ ThaiBev Thank You System โดยการประชาสัมพันธ์ให้กับพนักงานทุกคน ทั้งบริษัทในประเทศและต่างประเทศ โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2563 จะมีผู้ใช้งานระบบนี้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ทั้งนี้ไทยเบฟเชื่อมั่นว่าระบบ ThaiBev Thank You System จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์วัฒนธรรมความยั่งยืนขององค์กร
เส้นทางการเรียนรู้ในไทยเบฟ