รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2562

Close
หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2562 / ใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
GRI 305-1, GRI 305-2, GRI 305-4
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นปัญหาท้าทายระดับโลกที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุด ด้วยส่งผลกระทบโดยตรงต่อห่วงโซ่คุณค่าของไทยเบฟ รวมไปถึงชุมชนรอบโรงงาน เพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าว

ไทยเบฟจึงประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติอย่างจริงจัง พร้อมทั้งมุ่งมั่นลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

โดยไทยเบฟมีจุดมุ่งหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับเป้าหมายของบริษัทให้สอดคล้องกับข้อเสนอการมีส่วนร่วมที่ประเทศไทยกำหนดในการลดก๊าซเรือนกระจก (Nationally Determined Contributions: NDCs) ที่จัดทำขึ้นตามหลักวิทยาศาสตร์ เป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส

ไทยเบฟได้รวมความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัท โดยคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงจะเป็นผู้จัดอันดับและติดตามผลของความเสี่ยงดังกล่าวในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุทธศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศของไทยเบฟในการระบุการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารระดับสูง และกรรมการอิสระ โดยทั้งหมดได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง คณะกรรมการฯ จะคอยติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงวางแผนการดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น .

การจัดสัมมนาผู้บริหารและให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


ไทยเบฟให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในองค์กร โดยจัดให้มีการสัมมนาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับทุกหน่วยธุรกิจ เพื่อร่วมกันระบุความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง (Transition Risk) ความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risk) รวมถึงโอกาสทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย โดยผู้บริหารจากทุกหน่วยธุรกิจเข้าร่วมการสัมมนาเพื่อระดมความคิดช่วยกันระบุความเสี่ยงและโอกาสต่าง ๆ ทั้งนี้ ตัวอย่างของความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risk) ได้แก่ การขาดแคลนน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่จะมีเพิ่มมากขึ้น สำหรับความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ (Transition Risk) เช่น ข้อจำกัดด้านการผลิต การกำหนดเพดานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และภาษีเชื้อเพลิงหรือคาร์บอน แต่ละหน่วยธุรกิจได้มีการจัดอันดับความเสี่ยงตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจของไทยเบฟ และสุดท้ายมีการระบุโอกาสที่อาจเกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงได้โดยเร็วที่สุด โดยโอกาสที่ว่าประกอบด้วยผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ ประสิทธิภาพทรัพยากร วัตถุดิบ และพลังงานทางเลือก รวมถึงการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากคู่ค้า เพื่อประเมินโอกาสของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดความเสี่ยงอาจจะเกิดขึ้น ไทยเบฟได้เตรียมมาตรการต่าง ๆ ไว้แล้ว เช่น การศึกษาเพื่อประเมินความยั่งยืนของน้ำที่แหล่งที่ตั้งของโรงงาน 2 แห่ง คือ จังหวัดปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำ และวางแผนที่จะทำการศึกษาเพิ่มเติมอีกจำนวน 5 แห่ง ภายในปี 2563

การวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไทยเบฟได้ประเมินความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ที่อาจเกิดกับโรงงานผลิตทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจนถึงปี 2573 เพื่อทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risk) และเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งศึกษาภัยธรรมชาติ ได้แก่ แผ่นดินไหว พายุไซโคลน ไฟป่า ภาวะความบีบคั้นทางทรัพยากรน้ำ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ลมพายุ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และคลื่นพายุ จากปัจจัยความเสี่ยงที่ระบุได้ ทำให้โรงงานผลิตแต่ละแห่งสามารถพัฒนาแผนบริหารความเสี่ยงและมาตรการลดความเสี่ยงที่เหมาะสม

ภัยธรรมชาติ

พายุ เฮอร์ริเคน

ไฟป่า

น้ำท่วม

คลื่นพายุ

ภัยแล้ง

การเพิ่มของ ระดับน้ำทะเล

ดินถล่ม

คลื่นสึนามิ

ลมพายุ
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ไทยเบฟใช้เทคนิคการประหยัดสิ่งแวดล้อมแบบรวดเร็ว (Quick Environment Saving Technique : QUEST) และเครื่องมือในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Marginal Abatement Cost Curve : MACC) เพื่อจำลองโครงการใหม่ เปรียบเทียบกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่หลากหลาย โดยไทยเบฟสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อจำลองความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง (Transition Risk) เช่น ข้อจำกัดด้านการผลิตหรือภาษีคาร์บอน โดยเริ่มดำเนินโครงการนี้ที่โรงงานสุรากระทิงแดง จังหวัดสมุทรสาคร

จากนั้นจึงดำเนินการกับหน่วยธุรกิจอื่น ๆ โดยมีการวิเคราะห์แผนการผลิตและโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลทำให้ไทยเบฟมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการรับมือกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายล่าสุด

ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ

  • ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคาดหวังที่จะเห็นความพยายามของบริษัทในการปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจและผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกมาจำหน่าย ไทยเบฟจึงตั้งเป้าหมายต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใหม่สำหรับปี 2568 ประการแรกไทยเบฟได้ปรับแผนธุรกิจของบริษัทให้สอดคล้องกับข้อเสนอการมีส่วนร่วมที่ประเทศไทยกำหนดในการลดก๊าซเรือนกระจกจนถึงปี 2573 ซึ่งรวมถึงการคาดการณ์การเติบโตจนถึงปี 2573 และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเป็นผู้นําธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ไทยเบฟจึงได้ตั้งเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมไปจนถึงปี 2568 เพื่อความมุ่งมั่นที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในธุรกิจเครื่องดื่มให้ได้ร้อยละ 14 ภายในปี 2568
  • ไทยเบฟสนับสนุนแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อทำให้กระบวนการดังกล่าวมีความชัดเจนและโปร่งใส บริษัทได้ขอรับรองปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยไทยเบฟยังคงดำเนินการเพื่อขอรับรองปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์และองค์กรเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและช่วยลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปีงบประมาณ 2562 ไทยเบฟได้รับการรับรองดังต่อไปนี้

16
บริษัท
ได้รับเครื่องหมายคาร์บอน ฟุตพรินต์ขององค์กร
59
ผลิตภัณฑ์
ได้รับเครื่องหมายคาร์บอน ฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์
21
ผลิตภัณฑ์
ได้รับฉลากลดคาร์บอน ฟุตพรินต์
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทางตรง (Scope1)
ทางอ้อม (Scope2)
และทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2562 (ธุรกิจเครื่องดื่ม)

กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/เฮกโตลิต
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทางตรง (Scope1)
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทางอ้อม (Scope2)
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทางตรง (Scope1)
ทางอ้อม (Scope2)
และทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2562 (ธุรกิจอาหาร)

กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/กิโลกรัม
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทางตรง (Scope1)
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทางอ้อม (Scope2)
หมายเหตุ :
  • แสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจเครื่องดื่มในประเทศไทย
  • ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของไทยเบฟรวมต่างประเทศปี 2562 คือ 35.23 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/เฮกโตลิตร
  • เป้าหมายปี 2563 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ 10% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2557
  • ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะจัดการความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางธุรกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขยายขอบเขตการจัดการดูแลไปสู่ภายนอกองค์กร ไทยเบฟจึงได้เริ่มมีส่วนร่วมกับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เพื่อเป็นการลดขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยเบฟ และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปีงบประมาณ 2562 ไทยเบฟได้เชิญคู่ค้าเข้าร่วมโครงการรางวัลความร่วมมือด้านความยั่งยืน (ดูรายงานการพัฒนายั่งยืน หน้า 50) โดยให้ส่งตัวอย่างของโครงการด้านความยั่งยืนที่บริษัทคู่ค้านำมาปฏิบัติใช้ โดยผู้เข้ารอบสุดท้าย มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินงานผ่านความร่วมมือกับไทยเบฟมากกว่า 6,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ ไทยเบฟยังได้เริ่มพัฒนากระบวนการเพื่อครอบคลุมข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขตการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้านอื่น ๆ และรวมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ไว้ในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท
แบ่งปันคุณค่า
คุณพีรพงศ์ กริ่นชัย
ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ
บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)
กลุ่มธุรกิจเสริมสุขมีวิธีการช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร
“บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำของประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมาเสริมสุขได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และสถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้เข้าร่วมโครงการคาร์บอนฟุตพรินต์พร้อมกัน 2 โครงการ คือ โครงการขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization : CFO) และโครงการนำร่องฉลากลดโลกร้อนและฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Reduction : CFR และ Carbon Footprint of Products : CFP) โดยมีโรงงานที่ปทุมธานี รวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำอัดลม est cola และน้ำดื่มคริสตัล เป็นโครงการนำร่อง

ในส่วนของฉลากลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction : CFR) ปัจจุบันได้รับการรับรองจำนวน 16 ผลิตภัณฑ์ คือ น้ำดื่มคริสตัลบรรจุขวดพลาสติก PET และ est Cola บรรจุกระป๋อง ซึ่งตามมาตรฐานของ อบก. ผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับการรับรองฉลากลดโลกร้อนได้ จะต้องมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 2% เปรียบเทียบระหว่างปีปัจจุบันกับปีฐาน (ไม่เกิน 2 ปี) ซึ่งน้ำดื่มคริสตัลเป็นน้ำดื่มรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนฉลากลดโลกร้อน สำหรับฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products : CFP) ปัจจุบันได้รับการรับรองจำนวน 22 ผลิตภัณฑ์ คือ น้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก PET น้ำอัดลมบรรจุขวดพลาสติก PET และกระป๋อง เครื่องดื่มเกลือแร่ Power Plus เครื่องดื่มแรงเยอร์ ซึ่งการรับรองฉลากดังกล่าว ผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ในปีที่ผ่านมาเสริมสุขได้ขยายผลทั้งสองโครงการต่อเนื่องครบถ้วนทั้ง 7 โรงงาน พร้อมทั้งขยายผลไปยังผลิตภัณฑ์ของเสริมสุขทุกชนิด โดยมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2563 ทุกผลิตภัณฑ์และทุกขนาดบรรจุจะผ่านการรับรองคาร์บอนฟุตพรินต์

โดยผลจากการดำเนินโครงการคาร์บอนฟุตพรินต์ของเสริมสุข ในขั้นตอนการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งองค์กรและผลิตภัณฑ์ ทำให้เสริมสุขได้ทราบกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน และยังผลให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานของเสริมสุขร่วมอีกด้วย โดยโครงการที่ได้เริ่มดำเนินการและมีผลสำเร็จเป็นอย่างดี ได้แก่โครงการเปลี่ยนเชื้อเพลิง เครื่องกำเนิดไอน้ำจากน้ำมันเตาเป็นก๊าซ LPG โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก PET ให้มีน้ำหนักเบาลดการใช้พลาสติกที่จำเป็น โครงการลดน้ำหนักกระป๋องบรรจุเครื่องดื่มน้ำอัดลม โครงการเปลี่ยนการใช้น้ำตาลทรายเป็นน้ำตาลเหลว (Liquid Sugar) โครงการเปลี่ยนระบบ Cooling Tower เป็นระบบ Evaporation ซึ่งทำให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของเสริมสุขได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในประเด็นอื่น ๆ ได้อีกด้วยทั้งเรื่องการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว การจัดการน้ำ และการลดมลพิษทางอากาศ เป็นต้น

นอกจากนี้ เพื่อการสร้างความตระหนักของผู้บริโภคต่อความสำคัญเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง “ฉลากลดโลกร้อน” เสริมสุขได้นำประเด็นเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของน้ำดื่มคริสตัล ผ่านแคมเปญสื่อสารใหม่ “พิถีพิถันทุกขั้นตอน ก่อนถึงมือคุณ” พร้อมภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ที่ได้ “นาย-ณภัทร” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งนำเสนอมาตรฐานถึง 6 มาตรฐานที่น้ำดื่มคริสตัลได้รับการรับรอง โดยหนึ่งในมาตรฐานคือ การรับรองฉลากลดโลกร้อนเป็นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของน้ำดื่มคริสตัล เป็นการผลักดันให้ผู้บริโภคตระหนักและรับรู้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ Low Carbon”
ทิศทางการดำเนินงาน
ไทยเบฟได้ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้สอดคล้องกับข้อเสนอที่ประเทศไทยกำหนดตามความตกลงปารีส
เพื่อลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในทุกธุรกิจเครื่องดื่มลง
14%
ภายในปี 2568
(เปรียบเทียบกับฐานปี 2561)