หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560 / ดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่คุณค่า การพิทักษ์ และฟื้นฟูแหล่งน้ำ
GRI 103-1, GRI 103-2, GRI 303-1, GRI 303-3, GRI 306-1

เป้าหมาย
5%

การลดอัตราส่วนของการใช้น้ำจาก แหล่งน้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ภายในปี 2563
ความสำเร็จ
24%

การลดอัตราส่วนของการใช้น้ำประปา ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์

ความสำเร็จ
14%

การลดอัตราส่วนของการใช้น้ำบาดาล ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์

เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557
บริษัทไทยเบฟน้อมนำพระอัจฉริยภาพและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการบริหารจัดการน้ำมาเป็นแรงบันดาลใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำสำหรับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทอย่างต่อเนื่อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ชุมชนรอบโรงงาน จนถึงระดับประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคืนน้ำสะอาดกลับคืนสู่ธรรมชาติและยังดำรงไว้ซึ่งระบบนิเวศที่ดี

เป้าหมายและความสำเร็จของการลดอัตราส่วนของการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์


จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้ง เนื่องจากฝนไม่ตกตามฤดูกาลหรือปัญหาน้ำท่วมน้ำหลากอันเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามากกว่าปกติ ซึ่งส่งผลกระทบ โดยตรงต่อภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคประชาชน รวมถึงการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ

เพื่อเป็นการป้องกันและบรรเทาปัญหาที่เกิดจากสภาวะดังกล่าว บริษัทไทยเบฟในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแบบครบวงจรที่ใช้น้ำ เป็นวัตถุดิบหลัก ได้น้อมนำแนวพระราชดำริตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อให้ความเกิดความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ด้วยความห่วงใยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่า บริษัทไทยเบฟได้จัดกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำทั้งเชิงปริมาณและ คุณภาพ โดยใช้หลักการจากภายในองค์กรสู่ภายนอก พร้อมทั้งยึดตามระเบียบปฏิบัติสากลอย่างเคร่งครัด และมุ่งพัฒนาการใช้ทรัพยากรน้ำ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสร้างระบบการบริหารจัดการที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่า โดยสนับสนุนและ สร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงทางด้านน้ำ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพน้ำ รวมถึงการฟื้นฟูแหล่งน้ำ



การบริหารจัดการต้นน้ำ Management
องค์กรกับการอนุรักษ์และคืนน้ำ สะอาดกลับสู่ธรรมชาติ
  • การสร้างฝายชะลอน้ำ
  • การปลูกป่า
  • การปลูกหญ้าแฝก
  • การฟื้นฟูและปรับทัศนียภาพแม่น้ำ
  • การปล่อยพันธุ์ปลา


การบริหารจัดการ การดำเนินงาน
องค์กรกับการบริหารจัดการ ความเสี่ยงเรื่องน้ำ
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำ ด้วยเครื่องมือ Global Water Tool, Water Resource Review ฯลฯ
  • การสำรองน้ำ

องค์กรกับการใช้ทรัพยากรน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การดึงน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ อย่างเหมาะสม
  • การบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคน มีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance: TPM)
  • มาตรการ 3Rs
  • Water footprint


การบริหารจัดการปลายน้ำ
องค์กรกับการควบคุมมาตรฐาน การปล่อยน้ำทิ้ง
  • ISO 14001
  • มาตรฐานการปล่อยน้ำทิ้งตามข้อกำหนดทางกฎหมาย


การอนุรักษ์และคืนน้ำสะอาดกลับสู่ธรรมชาติ
บริษัทไทยเบฟน้อมนำพระอัจฉริยภาพและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการบริหารจัดการน้ำมาเป็นแรงบันดาลใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทอย่างต่อเนื่องทั้งภายใน และภายนอกองค์กรตั้งแต่ชุมชนรอบโรงงานจนถึงระดับประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคืนน้ำสะอาดกลับคืนสู่ธรรมชาติและยังดำรงไว้ ซึ่งระบบนิเวศที่ดี ด้วยการดำเนินโครงการต่างๆ ดังนี้


  • โครงการ “ไทยเบฟร่วมสร้างชุมชนดี มีรอยยิ้ม”
    นำจิตอาสาร่วมสร้างระบบฝายหินธรรมชาติบริเวณป่าต้นน้ำ ที่ชุมชนบ้านนาสวน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ฝายชะลอน้ำนี้จะช่วยให้ชุมชนมีน้ำใช้ในการเกษตรกรรม โดยเฉพาะในช่วงน้ำแล้ง อีกทั้งช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศให้อุดมสมบูรณ์ สร้างรายได้ และก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน

  • โครงการปลูกป่าประชารัฐเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก
    บริษัทไทยเบฟร่วมกับสำนักงานป่าไม้และชุมชนตำบลวังทอง จังหวัดกำแพงเพชร ปลูกต้นไม้เพื่อสร้างจิตสำนึกในการดูแล และทดแทนทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ไป

  • โครงการปลูกป่าร่วมกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
    ชุมชนสะมะแก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนเพื่อต่อยอดความยั่งยืน เพราะการอนุรักษ์ป่าคือ การอนุรักษ์ต้นกำเนิดน้ำ ทำให้ทรัพยากรน้ำ ยังคงอุดมสมบูรณ์ต่อไป

    กิจกรรม “อนุรักษ์วังปลา พัฒนาคลองสวย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “พัฒนาน้ำ...พัฒนาชีวิต...พัฒนา คุณภาพชีวิต” ซึ่งบริษัทไทยเบฟร่วมกับภาคราชการส่วนท้องถิ่น และชาวบ้านชุมชนวังศรีไพร ตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ทำการปล่อยพันธุ์ปลาเบญจพรรณลงแหล่งน้ำ และปลูกหญ้าแฝกริมคันคลองเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบนิเวศ ของชุมชน

  • โครงการ “Happy Workplace”
    ได้จัดให้พนักงานทำกิจกรรมปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่โดยรอบโรงงาน เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรน้ำและดิน เนื่องจากหญ้าแฝกมีคุณสมบัติ ที่สามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดินได้เป็นอย่างดี

  • โครงการ “ลำน้ำสดใส รวมใจรักษ์แม่กลอง”
    บริษัทไทยเบฟร่วมกับชุมชนริมแม่น้ำแม่กลองจัดโครงการฟื้นฟู และปรับทัศนียภาพลำน้ำในโครงการ เพื่อปรับภูมิทัศน์ริมแม่น้ำ ให้แม่น้ำมีความสะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ และช่วยป้องกัน การเกิดน้ำเน่าเสีย นอกจากเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รอบโรงงาน
การบริหารจัดการความเสี่ยงเรื่องน้ำ

บริษัทไทยเบฟใช้
  • 1) “ เครื่องมือ Global Water Tool” ซึ่งพัฒนาโดย World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) เพื่อประเมินหาที่ตั้งของโรงงานที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำทั้งปริมาณและคุณภาพ

  • 2) “Water Resource Review,” ในการทำบัญชีปริมาณ การใช้น้ำและคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และ

  • 3) เครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อการดำเนินงาน ตามวิธีการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management) ในด้านน้ำในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมไปถึงผลกระทบ จากการใช้น้ำของบริษัทที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยบริษัทจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจต่างๆ ในการบริหารจัดการน้ำ
เพื่อเป็นการลดผลกระทบในเรื่องน้ำ บริษัทมีแผนการลงทุนสร้างระบบสำรองน้ำเพื่อให้ทั้งโรงงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบโรงงาน มีเสถียรภาพในการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน


การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ


การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าถือเป็นหนึ่งในแนวทางการแสดงความรับผิดชอบของบริษัทไทยเบฟ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการดังนี้

  • การใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชน

  • การบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance: TPM) เป็นการดูแลรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานสูงสุด เพื่อลดการสูญเสียน้ำและพลังงานในระบบการผลิต

  • ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพด้วยมาตรการ 3Rs คือ ลดการใช้น้ำ การนำมาใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยโครงการต่างๆ ทำให้ในปี 2560 บริษัทสามารถนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 8.85 ของน้ำที่ดึงมาจากแหล่งน้ำ


3Rs

การลด
  • โครงการลดการสูญเสีย จากการรั่วไหลในระบบท่อต่างๆ
  • โครงการลดการใช้น้ำในขั้นตอน การล้างถังหมักเบียร์
  • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ไอน้ำในกระบวนการกลั่น

การใช้ซ้ำ
  • โครงการนำน้ำคอนเดนเสทกลับมา ป้อนเครื่องกำเนิดไอน้ำ(Boiler) เพื่อลดการใช้น้ำและพลังงาน ความร้อน
  • โครงการนำน้ำทิ้งในกระบวนการ ปรับสภาพน้ำบางส่วนกลับมาใช้ ในระบบสาธารณูปโภคทำให้ลดการ ใช้น้ำประปาลง

การนำกลับมาใช้ใหม่
  • โครงการนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัด มาใช้รดน้ำต้นไม้ในโรงงาน


ประเมินตัวชี้วัดปริมาณการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมของผลิตภัณฑ์ (Water footprint) เพื่อนำผลของการประเมินมาขยายผล ในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพของการใช้น้ำ

ส่งผลให้ในปี 2560 บริษัทมีอัตราส่วนของการใช้น้ำบาดาลและน้ำประปาต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง 0.22 และ 0.16 เฮกโตลิตรต่อเฮกโตลิตร ผลิตภัณฑ์ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 14.48 และ 19.86 ตามลำดับเปรียบเทียบกับปีฐาน 2557




อัตราส่วนของการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ (ธุรกิจเครื่องดื่ม)
หน่วย : เฮกโตลิตรต่อเฮกโตลิตรผลิตภัณฑ์




บริษัทไทยเบฟได้รับรางวัลในหลายด้าน

ทั้งในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล อย่างมีประสิทธิภาพ การลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต การบริหารจัดการเครือข่ายที่เข้มแข็ง และการบริหารจัดการความร่วมมือของกลุ่มบริษัท ภายใต้ “โครงการสร้างต้นแบบและขยายเครือข่ายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างมีประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรมด้วยเครื่องมือทางสังคม” จากสถาบันน้ำ เพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของบริษัท


การควบคุมมาตรฐานการปล่อยน้ำทิ้ง
บริษัทไทยเบฟมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ออกแบบอย่างเหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ มีการควบคุมมาตรฐานน้ำทิ้งให้เป็นไปตามประกาศกระทรวง อุตสาหกรรมเรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน ฉบับปี พ.ศ. 2560 และดำเนินการตามมาตรฐานสากล ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) จึงทำให้ในปี 2560 ร้อยละ 43 ไม่มีการปล่อยน้ำทิ้งสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนโรงงาน ที่เหลือมีการบำบัดน้ำทิ้งจนมีคุณภาพดีกว่าข้อกำหนดตามกฎหมายก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำและได้ส่งรายงานค่าคุณภาพต่อกรมโรงงาน อุตสาหกรรมผ่านระบบออนไลน์และเอกสารอย่างต่อเนื่อง

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560