หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560 / การแบ่งปันคุณค่าจากองค์กรสู่ระดับโลก ไทยเบฟ สานพลัง...ขับเคลื่อน “ประชารัฐ”

ตามที่รัฐบาลมีนโยบาย “สานพลังประชารัฐ” เป็นการผนึกกำลังในการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ และภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน และเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน



In this vein, the government has established a total of 12 working groups comprising
  • คณะการยกระดับนวัตกรรมและผลิตภาพ
  • คณะการส่งเสริม SMEs และ Start Up
  • คณะการส่งเสริมการท่องเที่ยวและ MICE
  • คณะการส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนในประเทศ
  • คณะการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมที่เป็น S-Curve
  • คณะการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่
  • คณะการดึงดูดการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
  • คณะการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ
  • คณะการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ
  • คณะการปรับแก้กฎหมายและกลไกภาครัฐ
  • คณะการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ
  • คณะประชารัฐเพื่อสังคม
ทั้งนี้ ในส่วนของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) มีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าทีมภาครัฐ และนายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นหัวหน้า ทีมภาคเอกชน มีเป้าหมายหลัก คือ การสร้างรายได้ให้ชุมชน เพื่อประชาชนมีความสุข โดยการทำงานผ่านกลไกประชารัฐที่มีการผสานพลังจาก 5 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคประชาชน ร่วมกันพัฒนาศักยภาพของธุรกิจชุมชน ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ใน 3 กลุ่มงาน คือ การเกษตร การแปรรูป และการท่องเที่ยวโดยชุมชน

คณะทำงานฯ ได้น้อมนำหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นั่นคือ“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โดยเข้าใจและเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ ว่ามีความต้องการหรือยังขาดในเรื่องใด เพื่อนำมาเป็นแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาก่อนนำไปสู่ปลายทาง คือ การพัฒนาที่ตรงกับ ความต้องการของประชาชน ทำให้ประชาชนมีความสุข มีรายได้ ที่พอเพียงในการเลี้ยงครอบครัว ขณะเดียวกันสามารถเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป

การทำงานของคณะทำงานฯ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy : SEP) ในการดำเนินงาน ซึ่งเมื่อนำมาผสานกับกลไกประชารัฐที่ร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคประชาชน สามารถนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ได้อย่าง เป็นรูปธรรม รวมทั้งสามารถช่วยผลักดันการพัฒนาประเทศไทย ไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 อีกด้วย โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้นำภาคเอกชนของคณะทำงานฯ มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างสูง ที่จะผลักดันการทำงานตามนโยบาย “สานพลังประชารัฐ” เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ และเพิ่มความสุขให้กับประชาชนในชุมชน ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

เพื่อให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีผลเป็น รูปธรรมและมีความต่อเนื่องในระยะยาว คณะทำงานการพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐได้ผลักดันให้มีการจัดตั้ง “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ภายใต้ชื่อ “ประชารัฐรักสามัคคี” ขึ้น ในทุกจังหวัด และจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจ เพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัดขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานกลาง ในการประสานความเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ เครือข่ายประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคมนี้ ได้รับการจัดตั้งครบทั่วประเทศแล้วนับแต่เดือนพฤศจิกายน 2559

นอกจากนั้น กระทรวงมหาดไทยยังได้จัดให้มีคณะกรรมการประสานงานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.) เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนและสนับสนุนการทำงานของโครงการ สานพลังประชารัฐทุกคณะในระดับจังหวัด โดยทำงานร่วมกับ ทุกภาคส่วนในพื้นที่ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแกนหลัก และมีผู้แทน จากหน่วยราชการต่างๆ เช่น พัฒนาการจังหวัด เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ท่องเที่ยวจังหวัด และอื่นๆ ร่วมกับภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ในจังหวัดมาร่วมกัน ขับเคลื่อนการทำงาน และใช้บริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดช่วยเสริมความเข้มแข็ง สนับสนุนเชิงธุรกิจในชุมชนเป้าหมาย

ในส่วนของการทำงานในระดับพื้นที่ร่วมกับชุมชนเป้าหมาย เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนใน 3 กลุ่มงาน คือ เกษตร แปรรูปและท่องเที่ยว โดยชุมชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ได้มอบนโยบายให้ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินโครงการ “สานพลังเพื่อบ้านเกิด ” เพื่อสร้าง นักพัฒนาธุรกิจชุมชนรุ่นใหม่ อายุ 20-30 ปี ให้มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถในการแก้ปัญหา และอยากพัฒนาบ้านเกิดของตน โดยโครงการนี้มีการฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะการบริหารธุรกิจชุมชน และการพัฒนาชุมชนแบบการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เป็นเวลา 2 เดือน ก่อนส่งนักพัฒนาธุรกิจชุมชนลงปฎิบัติงานจริงในพื้นที่ ปัจจุบัน มีนักพัฒนาธุรกิจชุมชนจำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 76 คน ที่ได้นำความรู้ จากการอบรมไปพัฒนาชุมชนบ้านเกิด ผ่านการทำงานร่วมกับ ภาคส่วนต่างๆในจังหวัด รวมถึงช่วยสื่อสารแนวทางการทำงานแบบ “สานพลังประชารัฐ” ให้กับเยาวชนและคนรุ่นใหม่

ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ทั้ง 76 แห่ง สามารถดำเนินการพัฒนาธุรกิจชุมชนทั่วประเทศไปแล้วกว่า 500 โครงการ แบ่งได้ตาม 3 ประเภทกลุ่มงาน คือ เกษตร (36%) แปรรูป (49%) และ ท่องเที่ยว (15%) โดยสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในเครือข่ายทั้งสิ้นกว่า 30,000 ครัวเรือน เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 58 ล้านบาท


โครงการระดับประเทศ
1. โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย
มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่าน 4 มิติ ได้แก่ การสร้างความตระหนักรู้และ ความสนใจในผ้าขาวม้าทอมือในกลุ่มผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ การสร้างนวัตกรรมการผลิตและแปรรูปสินค้าจากผ้าขาวม้า ทอมือ เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการใช้งาน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างชุมชนและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ อาทิ การใช้ สีธรรมชาติ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการผลักดันให้เกิดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนทั้งในด้านลิขสิทธิ์ลายผ้า เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตรต่างๆ

โครงการนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโครงการ ได้แก่
  • การจัดประกวดชิ้นงานผ้าขาวม้าจากชุมชนกว่า 500 แห่ง ทั่วประเทศ
  • งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้า เพื่อสร้าง การเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ ในการผลิตและเพิ่มมูลค่าของ ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า
  • การสนับสนุนนำผ้าขาวม้าทอมือของไทยจำนวนกว่า 30 ชุด ไปสู่เวทีแฟชั่นระดับโลกในงาน Amazon Fashion Week TOKYO 2017 ณ ประเทศญี่ปุ่น และการจัดแข่งขันการออกแบบชุดราตรีผ้าขาวม้าโดยนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
  • การประสานงานในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าลิขสิทธิ์ ลายผ้าและอนุสิทธิบัตรกี่ทอผ้าพับได้ให้กับชุมชนผู้ผลิต 22 ชุมชน
  • การพัฒนาสินค้าจากผ้าขาวม้าและเชื่อมโยงการขายสู่องค์กร ขนาดใหญ่ อาทิ บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เทสโก้โลตัส

ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ ชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือได้กว่า 519 ชุมชน จาก 49 จังหวัด ทั่วประเทศ คิดเป็นมูลค่ายอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือ กว่า 7,000,000 บาท


2. โครงการเครื่องสีข้าวขนาดครัวเรือน
เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตข้าว เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวนา โดยผ่านนวัตกรรมใหม่ที่จะเปลี่ยนวิถีการบริโภคข้าวของคนไทย สร้างความเชื่อมโยงระหว่างชาวนากับผู้บริโภคโดยตรง รวมถึงให้ความรู้กับผู้บริโภคเกี่ยวกับสายพันธุ์ที่หลากหลายกว่า 90 สายพันธุ์ข้าวในประเทศไทยและประโยชน์ของข้าวแต่ละชนิดทั้งในด้านคุณค่าทางอาหารและรสชาติที่แตกต่างกัน โดยได้มีการ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลข้าวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึง การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2560 อาทิ การจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์การบริโภคข้าวและเปิดตัวเครื่องสีข้าว ครัวเรือน ในงานข้าว “สด สร้าง สุข” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17–20 สิงหาคม 2560 ณ ห้างสรรพสินค้า 3 แห่งใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งในงานนี้นอกจากจะมีการรณรงค์ให้เกิดการตระหนักรู้และบริโภคข้าวอินทรีย์ รวมถึงข้าวไทยพื้นถิ่น ตลอดจน ผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ จากข้าว และมีเปิดรับจองเครื่องสีข้าวครัวเรือนแล้ว ยังสามารถสร้างยอดขายตรงให้แก่ชุมชนกว่า 30 ชุมชนทั่วประเทศ เป็นมูลค่ารวมกว่า 600,000 บาท ปัจจุบัน ได้มีการวางแผนร่วมกับพันธมิตรในการสร้างห่วงโซ่อุปทานการบริโภคข้าวเปลือก พัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวเปลือก เพื่อให้พร้อมใช้งานร่วมกับเครื่องสีข้าวขนาดครัวเรือน พร้อมทั้งการเตรียมการจัดหาช่องทางจำหน่ายสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศ

3. โครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย
โดยบริษัท ประชารัฐ รักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนาม ความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เพื่อผลักดันการผลิตและบริโภค อาหารที่ปลอดภัย โดยใช้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเป็นตัวขับเคลื่อนผ่านการรับซื้อผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์อาหาร ตรงจากผู้ผลิต และมีการสุ่มตรวจระดับสารพิษ โดยเริ่มจาก โรงพยาบาลระดับใหญ่ในแต่ละจังหวัด 116 แห่ง ในปี 2560 และขยายครอบคลุมโครงพยาบาลชุมชนครบ 780 แห่ง ภายในปี 2561 โครงการนี้มุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ของเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับ ผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดจนผลักดันกระบวนการผลิตแบบ เกษตรอินทรีย์ โดยบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีในแต่ละจังหวัด ทำหน้าที่เชื่อมโยงชุมชนเกษตรกรผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานเข้าสู่ โรงพยาบาลในโครงการ และทำหน้าที่ชักชวนเกษตรกรอื่นๆ ให้พัฒนามาตรฐานเพื่อเข้าสู่โครงการ

4. โครงการแล็บประชารัฐ
บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด เซ็นสัญญาความร่วมมือกับ บจก. ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) เพื่อสนับสนุนการตรวจ สารตกค้างและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร แปรรูป สินค้า ด้านอาหารและเครื่องสำอางของชุมชน ผ่านการอบรมให้ความรู้ แก่ผู้ผลิตและการแจกคูปอง “แล็บประชารัฐ” เพื่อชักชวนให้ผู้ผลิต นำสินค้าเข้ารับบริการตรวจสอบคุณภาพ โดยปัจจุบันมีบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ 18 จังหวัด และได้จัดส่งสินค้าชุมชนเพื่อนำเข้าตรวจสอบไปแล้วกว่า 60 ชิ้น คิดเป็นมูลค่ากว่า 300,000 บาท โดยสิ้นปี 2560 คาดว่าจะ สามารถนำสินค้าเข้าตรวจสอบคุณภาพได้ 1,000 ชิ้น คิดเป็น มูลค่าการตรวจสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชนเป็นจำนวน 5,000,000 บาท


ตัวอย่างผลงานกลุ่มการเกษตร
1. โครงการฟื้นฟูกุ้งมังกร จังหวัดภูเก็ต
การจัดงาน Phuket Lobster Festival 2017 เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนในช่วงที่มีนักท่องเที่ยวน้อยเป็นจำนวนเงิน กว่า24,000,000 บาท มีโรงแรมและร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการ ในจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นจาก 35 ร้านในปี 2559 เพิ่มเป็น 200 ร้าน ในปี 2560 นอกจากนี้ยังมีโรงแรมและร้านอาหารในจังหวัดพังงา และจังหวัดระนองร่วมเข้าเป็นพันธมิตรด้วย หลังจากที่มีการกระตุ้น ความนิยมของผู้บริโภคแล้ว ปัจจุบันบริษัทประชารัฐรักสามัคคี ภูเก็ต (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด กำลังทำงานร่วมกับกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ในการพัฒนาพันธุ์และกระบวนการเลี้ยงกุ้งมังกร ให้มีประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งทำงานร่วมกับชุมชนผู้ผลิตกุ้งมังกร ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในบริเวณกระชังเพาะเลี้ยง กุ้งมังกรอีกด้วย

2. เกษตรอินทรีย์ จังหวัดนครปฐม
ปี 2560 เป็นปีแห่งการบริโภคผักสด ผลไม้ปลอดภัย เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสู่ระบบการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practices: GAP) และการขยายผลเกษตรอินทรีย์ ด้วยการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อตอบสนองโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย ชุมชน จึงนำผลผลิตส่งต่อสู่โรงพยาบาล ตลาดเกษตรปลอดภัย และขยายผลสู่ตลาดบนและร้านอาหารสุขภาพ โดยส่งผักและ ผลไม้ให้กับโรงพยาบาลจำนวน 9,677 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 424,464 บาท (ข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน-สิงหาคม 2560)


ตัวอย่างผลงานกลุ่ม
สินค้าผ้าบาติก
พัฒนาสินค้าผ้าบาติกให้ตรงกับความต้องการของตลาดผ้าบาติกจังหวัดภูเก็ต และ 10 จังหวัดภาคใต้ ด้วยการ นำผ้าบาติกไปเสริมกับองค์ประกอบอื่น เช่น กระเป๋า และออกแบบลวดลายให้ตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้งเชื่อมโยง และแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างกลุ่มผ้าบาติก 10 จังหวัดภาคใต้ ด้วยการจัดงาน Batik Design Week 2016 โดยสามารถรวมกลุ่ม ผ้าบาติกได้ 10 จังหวัดภาคใต้ สร้างรายได้กว่า 1,900,000 บาท และในปี 2017 ได้มีการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติกจาก ทั่วประเทศได้กว่า 31 ชุมชน โดยเชื่อมโยงกับสมาคมโรงแรม

2. ถั่วป่านทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีร้อยเอ็ด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ช่วยผลักดันให้ถั่วป่านทอง มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับเป็น OTOP บนเครื่องบิน รวมทั้ง ขยายพื้นที่เพาะปลูกถั่วลิสง ขยายสมาชิกกลุ่มและเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการ ขณะเดียวกันเพิ่มมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล


ตัวอย่างผลงานกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน
1. ชุมชนขนมแปลกริมคลองหนองบัว จังหวัดจันทบุรี
บริษัทประชารัฐรักสามัคคีจันทบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี สนับสนุนและผลักดันโครงการจัดแสดงและจำหน่ายตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้ เพื่อยกระดับมาตรฐานของตลาดนัดชุมชนเป็น ต้นแบบที่น่าเชื่อถือ และได้รับความไว้วางใจจากประชาชน สร้างโอกาสให้ผู้ผลิต และเกษตรกรรายย่อย ตลอดจนเพิ่ม ช่องทางการตลาดให้มากขึ้น สำหรับชุมชนขนมแปลกริมคลองหนองบัวเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ยังคงเอกลักษณ์มาเป็นเวลากว่า 100 ปี ภายในชุมชนประกอบด้วยบ้านเรือนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่สองฟากฝั่งของถนน ภายในชุมชน มีการจำหน่ายอาหารพื้นบ้านและขนมโบราณรสชาติอร่อยที่ในปัจจุบันหาได้ยาก เช่น ขนมติดคอ ขนมหัวล้าน เป็นต้น ซึ่งตอนนี้กลายเป็นจุดขายสำหรับนักท่องเที่ยว ไปแล้ว ตลอดระยะเวลา 1 ปี จากที่เริ่มโครงการ สามารถสร้างรายได้ ให้ชุมชนไม่ต่ำกว่า 240,000 บาท ต่อเดือน

2. เที่ยวธรรมไมบ์ ณ ซับสีทอง จังหวัดชัยภูมิ
ตำบลซับสีทอง เป็น 1 ใน 4 ตำบลตั้งอยู่ที่เทือกเขาภูแลนคาเป็นสถานที่ ที่มีธรรมชาติสวยงามน่าศึกษา ทั้งด้านวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนแต่โบราณ อีกทั้งยังมีสถานปฏิบัติธรรม ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนด้วย คณะทำงานฯ จึงได้สนับสนุนและผลักดันให้ตำบลซับสีทองเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของ จังหวัดชัยภูมิ ด้วยการขับเคลื่อนและเชื่อมโยงภาคีต่างๆ ในการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลซับสีทองแห่งนี้ สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวรวมถึงการขายสินค้า เกษตรในพื้นที่ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 50,000 บาท ต่อเดือน

3. การท่องเที่ยวหมู่บ้านงูจงอาง บ้านโคกสง่า จังหวัดขอนแก่น
โดยบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีขอนแก่น (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และสำนักงานการพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่นจัดเวทีประชาคมให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารจัดการ กลุ่มชุมชนหมู่บ้านงูจงอาง ซึ่งทำให้ปัจจุบันทางหมู่บ้านงูจงอาง ได้เกิดการจัดรอบการแสดง พร้อมสามารถเก็บบัตรโชว์ค่าเข้าชม ในราคา ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท และชาวต่างชาติ 100 บาท ทำให้กลุ่มชุมชนมีรายได้ที่ชัดเจนต่อเดือน โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า ต่อหัวนักท่องเที่ยวที่เข้าชม รวมถึงการจัดทางเข้าออกสถานที่ ท่องเที่ยว สื่อออนไลน์เพจกลุ่ม เชื่อมโยงกลุ่มอาชีพใกล้เคียงหมู่บ้าน เพื่อผลิตของที่ระลึกและการจัดบริหารภายในอื่นๆ โดยสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนรวมทั้งสิ้นกว่า 290,000 บาท

ตารางแสดงรายได้ชุมชนหมู่บ้านจงอาง

ปี

2559

2560

เดือนกรกฎาคม

66,614 บาท

112,180 บาท

เดือนสิงหาคม

57,254 บาท

103,500 บาท

เดือนกันยายน

47,967 บาท

76,373 บาท


นอกจากการดำเนินงานใน 3 กลุ่มงานนี้แล้ว คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) โดยกรมการพัฒนาชุมชน และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ยังได้จัดทำโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จูเนียร์ (OTOP Junior) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการทำงาน ของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) และ คณะทำงานด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน โดยมีเด็ก เป็นศูนย์กลางและให้ลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมการทำมาค้าขายตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นการยกระดับสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จูเนียร์ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก รุ่นใหม่และนำมาวางขายในตลาดได้จริง โดยสอดแทรกการเรียนรู้ เรื่องการทำบัญชีในครัวเรือน บัญชีโครงการ เพื่อสร้างวินัยทางการออม สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญในการ พัฒนาคุณภาพชีวิต เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนเติบโตขึ้นมาเป็น พลเมืองที่มีคุณภาพและคุณค่าของสังคม

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560