หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560 / การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าของการเติบโตเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน การจัดหาอย่างยั่งยืน
GRI 204-1 GRI 308-1 GRI 414-1

การจัดหาอย่างยั่งยืนเป็นรากฐานสำคัญของห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ไทยเบฟ ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงใส่ใจในการคัดสรรวัตถุดิบ สินค้า และบริการที่เข้าสู่กระบวนการผลิตของเรา บริษัทได้กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าเพื่อสื่อสารความคาดหวังของบริษัท เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ของคู่ค้าเพื่อมีส่วนช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคการผลิต สิ่งแวดล้อม สังคม และธุรกิจ และมีการกำหนด มาตรฐานการคัดกรองคู่ค้า ตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวด โดยให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ไปถึงมือผู้บริโภคนั้นมีคุณภาพ ผ่านกระบวนการจัดหาที่มีมาตรฐาน และแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการสร้างงาน การกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่น พร้อมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

การบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการจัดหาอย่างยั่งยืนให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบไปจนถึง การตรวจสอบผลการดำเนินงานหลังการขายของคู่ค้า โดยพิจารณาความเสี่ยงในการจัดหาจากปัจจัยด้านราคา ปริมาณสินค้าและบริการ รวมถึงศักยภาพในการส่งมอบสินค้าและบริการของคู่ค้า บริษัทจะพิจารณาคู่ค้ารายสำคัญ (Critical Supplier) จากระดับความเสี่ยงในการ จัดหา และนำไปกำหนดกลยุทธ์ในการบรรเทาความเสี่ยงให้สอดคล้องกัน

มูลค่าการจัดหาจากคู่ค้ารายสำคัญการจัดหาจากคู่ค้าสำคัญ (Critical Supplier) คิดเป็น
27%

ของมูลค่าการจัดหาทั้งหมดในปี 2560
การบริหารจัดการความเสี่ยงในการจัดหาด้านพาณิชย์
การบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการจัดหาอย่างยั่งยืนให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบไปจนถึง การตรวจสอบผลการดำเนินงานหลังการขายของคู่ค้า โดยพิจารณาความเสี่ยงในการจัดหาจากปัจจัยด้านราคา ปริมาณสินค้าและบริการ รวมถึงศักยภาพในการส่งมอบสินค้าและบริการของคู่ค้า บริษัทจะพิจารณาคู่ค้ารายสำคัญ (Critical Supplier) จากระดับความเสี่ยงในการ จัดหา และนำไปกำหนดกลยุทธ์ในการบรรเทาความเสี่ยงให้สอดคล้องกัน


การจำแนกกลุ่มคู่ค้า
บริษัทจำแนกกลุ่มคู่ค้าตามประเภทสินค้าที่จำหน่ายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัสดุหลัก และกลุ่มวัสดุรอง มูลค่าการจัดหาวัสดุหลักคิดเป็นร้อยละ 75 ของมูลค่าการจัดหาทั้งหมดของไทยเบฟในปี 2560

75% กลุ่มวัสดุหลัก
หมายถึง วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ และเชื้อเพลิง ได้แก่ ข้าวมอลต์ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กล่องลูกฟูก น้ำมันเตา เป็นต้น
25% กลุ่มวัสดุรอง
หมายถึง สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร อะไหล่ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุสิ้นเปลืองในสำนักงานและโรงงาน สินค้าส่งเสริมการขายและงานบริการ ได้แก่ เครื่องบรรจุ เครื่องยิงวันที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเขียน อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เป็นต้น


การบริหารจัดการความเสี่ยง ในการจัดหาด้านความยั่งยืน

100%

ของคู่ค้ารายใหม่ได้รับการตรวจประเมิน ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
เพื่อให้บริษัทมั่นใจในการดำเนินงานของคู่ค้าที่ตอบสนองความคาดหวัง ของบริษัทตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ไทยเบฟได้ผนวกรวม ปัจจัยด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านหลักธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดหาอย่างยั่งยืน เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ การคัดกรองคู่ค้าก่อนการซื้อขาย การประเมินผลงานคู่ค้า ไปจนถึงการติดตามผลและพัฒนาคู่ค้า อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการห่วงโซ่ อุปทานให้สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจ

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560