หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560 / การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าของการเติบโตเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน การบริหารความเสี่ยง

 
บริษัทไทยเบฟมุ่งเน้นการสร้างและแบ่งปันคุณค่าของการเติบโตทางธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืนให้กับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจภายใต้ สภาวะความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริษัทสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขณะเดียวกันช่วยลดความสูญเสียและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการเติบโต ของธุรกิจและ/หรือสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจให้กับองค์กร ซึ่งภายใต้กรอบการบริหารความเสี่ยงมีองค์ประกอบ ที่สำคัญดังนี้


โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง
โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงของบริษัท แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับองค์กร และระดับกลุ่มธุรกิจหรือสายธุรกิจ

ระดับองค์กร มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee : RMC) ซึ่งประกอบด้วยกรรมการบริษัทและผู้บริหาร ระดับสูงของแต่ละกลุ่มธุรกิจหรือสายธุรกิจที่ได้รับการแต่งตั้ง ทำหน้าที่ กำหนดนโยบายและกรอบการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง ของบริษัท รวมทั้งติดตาม กลั่นกรอง ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

ระดับกลุ่มธุรกิจหรือสายธุรกิจ มีผู้บริหารระดับสูงของแต่ละกลุ่ม ธุรกิจหรือสายธุรกิจ ทำหน้าที่ควบคุมและติดตามการดำเนินงาน ด้านการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจหรือสายธุรกิจ และรายงาน ผลต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

นอกเหนือจากการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามปกติของแต่ละกลุ่มธุรกิจหรือสายธุรกิจ บริษัทยังบริหารความเสี่ยงเชื่อมโยงกับกระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ การลงทุน และการวางแผนธุรกิจ ซึ่งประเด็นที่เป็นความเสี่ยงระดับองค์กร (Corporate Risk) จะต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าทุกความเสี่ยงได้รับการจัดการตามมาตรการที่กำหนดไว้
กระบวนการบริหารความเสี่ยง
การบริหารความเสี่ยงในระดับกลุ่มธุรกิจหรือสายธุรกิจ ประกอบด้วย ขั้นตอนดังนี้

  • การระบุความเสี่ยง (Identify risks) คือ การระบุความเสี่ยง ที่องค์กรหรือธุรกิจเผชิญอยู่หรือแฝงอยู่ในการดำเนินงาน ซึ่งอาจ เกิดขึ้นและส่งผลกระทบในทางลบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ ขององค์กรหรือธุรกิจ
  • การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง (Analyze and assess risks) คือ การวิเคราะห์หาสาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุ การประเมิน โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง และผลกระทบหรือระดับ ความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เพื่อจำแนกและ จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่มีอยู่
  • การวางแผนและกำหนดแนวทางบริหารความเสี่ยง (Plan the risk management actions)
  • การปฏิบัติตามแนวทางบริหารความเสี่ยง(Implement the action plans)
  • การติดตาม ควบคุมและประเมินผลการปฏิบัติ (Monitor, control and measure) คือ การติดตามความคืบหน้าและ ประเมินผลการบริหารความเสี่ยง โดยเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงที่กำหนดเพื่อเป็นเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป

หมายเหตุ หลังจากปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 ได้อนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลง “คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง” เป็น “คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและ ความเสี่ยง” และการแก้ไขเพิ่มเติมขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบให้ครอบคลุม การกำกับดูแลกลยุทธ์ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
วัฒนธรรมความเสี่ยงภายในองค์กร
To develop an understanding and instill risk management awareness as a part of corporate culture amongst all employees, เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังการบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในจิตสำนึกของพนักงานทุกคน และพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร บริษัทไทยเบฟจึงจัดกิจกรรมฝึกอบรมพนักงานและปฐมนิเทศพนักงานใหม่ให้เข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงขององค์กร กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง และเครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งในเรื่องทั่วไปและเรื่องเฉพาะเจาะจงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมให้พนักงานสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจ เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

พนักงานสามารถรายงานความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแก่องค์กรเป็น ลายลักษณ์อักษรแก่ผู้บังคับบัญชาตามสายงาน หรือสามารถรายงาน ไปยังสำนักกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ด้วยอีเมลที่บริษัทได้กำหนดขึ้น จากนั้นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่จะพิจารณาและดำเนินการ ตามที่เห็นสมควรต่อไป
 
ดังนั้นบริษัทจึงได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นใหม่สำหรับทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อลดความสูญเสียหรือผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้น ขณะเดียวกันช่วยเพิ่มโอกาสของการแข่งขันทางธุรกิจให้แก่กลุ่มบริษัทไทยเบฟ

ความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบกับความยั่งยืนของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ
  • การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของประชากร ในลักษณะของการ เข้าสู่สังคมสูงวัย การเพิ่มขึ้นของประชากรในกลุ่มชนชั้นกลาง และการขยายตัวของเมืองใหญ่ (Urbanization)
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเพิ่มขึ้น ของการพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีโดยเฉพาะโลกไซเบอร์
  • การเปลี่ยนฐานอำนาจทางเศรษฐกิจจากประเทศอเมริกา และยุโรปมายังประเทศแถบทวีปเอเชีย


  • การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ การกำกับดูแลกิจการ สิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพและความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และสังคม โดยทั้งหมดถือเป็นความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risks) จะนำมาซึ่งอุปสรรคและการเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ ชื่อเสียงของบริษัท รวมทั้งความมั่นคงและยั่งยืนขององค์กร
    การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของประชากร
    ความเสี่ยงและผลกระทบ
    • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น ถือเป็นความเสี่ยงหากบริษัทไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวตามพฤติกรรมและ/หรือความต้องการของผู้บริโภค
    • การเกิดพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการที่หลากหลาย มีคุณภาพหรือมาตรฐานสูงขึ้น และเป็นนวัตกรรมใหม่ของกลุ่ม ผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภค ในเมืองใหญ่ ซึ่งหากบริษัทไม่สามารถตอบสนองได้ทันท่วงที ก่อให้เกิดการเสียโอกาส/ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และ/หรือการเป็นผู้นำตลาด
    • การเพิ่มความเข้มงวดของกฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าที่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งมีผลเกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หากไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติตามไม่ครบถ้วน อาจส่งผล กระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท การถูกลงโทษและค่าปรับ

    การบริหารจัดการ
    • การคิดค้นและพัฒนาเครื่องดื่มและอาหารเพื่อสุขภาพตามนโยบายด้านสุขภาพและโภชนาการของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ
    • การพัฒนาและลงทุนในธุรกิจอาหารในรูปแบบร้านอาหารที่หลากหลายสามารถ เข้าถึงลูกค้าได้หลายกลุ่ม เพื่อขยายธุรกิจโดยรวมและสนับสนุนธุรกิจเครื่องดื่ม
    • การดำเนินงานของ “ครัวกลาง” (Central Kitchen) เพื่อบริหารจัดการตั้งแต่การจัดซื้อและการใช้วัตถุดิบของธุรกิจอาหาร รวมถึงการลดปริมาณและการจัดการ ของเสียจากอาหาร
    • การให้ความสำคัญกับช่องทางการจัดจำหน่าย HORECA (Hotels, Restaurants & Cafe) ที่เข้าถึงและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในกลุ่มที่มีรายได้ ปานกลางขึ้นไป
    • การออกแบบและพัฒนาฉลากและบรรจุภัณฑ์ที่สื่อสารถึงข้อมูลและคุณค่า ทางโภชนาการของเครื่องดื่มและอาหารของบริษัท
    • การสื่อสารหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้บริโภค และเข้าถึงผู้บริโภคเป้าหมาย
    • การอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมแก่บุคลากรในส่วนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและขยายตัวทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ


    การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
    ความเสี่ยงและผลกระทบ
    • ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เช่น การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ ปัญหามลพิษของน้ำและอากาศ
    • เหตุการณ์ความรุนแรงของสภาพอากาศ และความล้มเหลวในการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพ ภูมิอากาศ
    • วิกฤตน้ำ อาหาร และพลังงานซึ่งมีผลกระทบต่อกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขายและการขนส่งสินค้า
    • ความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและราคาของสินค้าทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าของบริษัท
    • การเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ และการเพิ่มความเข้มงวดของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
    • การสูญเสียชื่อเสียงขององค์กร และการสูญเสียทางการเงิน ในลักษณะของค่าปรับ หากมีส่วนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ


    การบริหารจัดการ
    • ทุกกลุ่มธุรกิจต้องปฏิบัติตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำขององค์กรอย่างเคร่งครัด เช่น การใช้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 การใช้หลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) การสำรองน้ำ ให้เพียงพอเพื่อใช้ในการผลิต การเข้าร่วมโครงการ Water Footprint รวมถึงโครงการ Carbon Footprint ระดับองค์กรและผลิตภัณฑ์ การใช้เทคโนโลยี ที่ทันสมัยและประหยัดพลังงานในการบำบัดและกำจัดน้ำเสียของโรงงาน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการผลิตพลังงานทางเลือกต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในโรงงาน
    • การใช้เทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรที่ทันสมัยและประหยัดพลังงาน เพื่อลด การใช้ทรัพยากรและพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิต รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต
    • การส่งเสริมการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลด ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต กระบวนการขนส่ง รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตราสินค้า
    • การบริหารจัดการตามแนวทางการปฏิบัติของคู่ค้าในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • การวิเคราะห์และติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาและปริมาณของวัตถุดิบหลักอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการและเพิ่มห่วงโซ่คุณค่า
    • การกำหนดแนวทางและพัฒนาระบบของการจัดซื้อสินค้าและบริการแบบองค์รวมของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ (Consolidated strategic sourcing and procurement)


    การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีโดยเฉพาะโลกไซเบอร์
    ความเสี่ยงและผลกระทบ
    • ภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security Attacks) ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และความพร้อมใช้ของระบบในการปฏิบัติงาน
    • การรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ เช่น แผนธุรกิจ ข้อมูลการขาย ผลประกอบการ ข้อมูลลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งมีผลต่อการสูญเสียชื่อเสียงขององค์กร
    • การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


    การบริหารจัดการ
    • พัฒนาระบบงานที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวงจรห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะ ในการจัดซื้อจัดหา การขนส่ง และการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย
    • การกำกับดูแล การระบุ และการแก้ไขภัยคุกคามด้านไซเบอร์และกิจกรรมภายใน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่น่าสงสัย
    • การอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศแก่พนักงาน
    • การทดสอบการกู้คืนภัยพิบัติ และกำหนดมาตรการตอบรับและการฟื้นฟูในแผนการบริหารความเสี่ยงด้านไซเบอร์


    การเปลี่ยนฐานอำนาจทางเศรษฐกิจจากประเทศอเมริกาและยุโรปมายังประเทศแถบทวีปเอเชีย
    ความเสี่ยงและผลกระทบ
    • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการแข่งขันในตลาดทั้งในและ ต่างประเทศที่รุนแรงและหลากหลายรูปแบบ อันเนื่องมาจาก ความแตกต่างด้านภาษา ศาสนา ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
    • นโยบายการกีดกันทางการค้าของแต่ละประเทศ ก่อให้เกิดอุปสรรคของการขยายธุรกิจในต่างประเทศ
    • ความเสี่ยงด้านการเงิน : การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศและอัตราดอกเบี้ย และสภาพคล่องทางธุรกิจ


    การบริหารจัดการ
    • ขยายตลาดของสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ ไปสู่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    • ติดตามการเคลื่อนไหวและแนวโน้มของตลาดเงิน อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รวมถึงใช้เครื่องมือทางการเงินประเภทต่างๆ ในการบริหารต้นทุนดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
    • รักษาหรือยกระดับอันดับเครดิตกับสถาบันจัดอันดับเครดิตทั้งในและต่างประเทศ
    • กำหนดกลยุทธ์ของทุกกลุ่มธุรกิจ (สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร) ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมสนับสนุนการติดต่อและประสานงานของทุกสายงานภายใต้กลุ่มบริษัทไทยเบฟ

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560