หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560 / การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าของการเติบโตเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน นวัตกรรม
GRI 103-1, GRI 103-2

“ไทยเบฟได้ยื่นจดสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 108 รายการ ในปี 2560”

นวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่คุณค่าที่ทำให้บริษัทไทยเบฟประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจใน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยบริษัทมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อให้เกิด ความหลากหลายในเชิงธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ขณะเดียวกันยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ และคุณภาพในกระบวนการผลิตและการให้บริการแก่ลูกค้าและผู้บริโภค เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจ ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
นวัตกรรมด้านกระบวนการ
บริษัทไทยเบฟคิดค้นนวัตกรรมด้านกระบวนการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ในกระบวนการต่างๆ ของห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งจะช่วยผลักดันให้บริษัทสามารถใช้ทรัพยากร ได้อย่างคุ้มค่า ควบคุมคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน เพิ่มอัตรา การผลิต ตลอดจนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ที่เกี่ยวข้องในปี 2560 บริษัทไทยเบฟพัฒนานวัตกรรมด้านกระบวนการต่างๆ ดังนี้
เบฟเทค (BevTech)
บริษัทไทยเบฟได้จัดตั้ง บริษัท เบฟเทค จำกัด โดยได้มีการคัดเลือกทีมวิศวกร ที่มีความสามารถจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อเข้าร่วมในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตเครื่องจักรและหุ่นยนต์ร่วมกับหน่วยการผลิตตลอดทั้งกระบวนการ โดยมีการจัดสรรงบประมาณการลงทุนเพื่อคัดเลือกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เหมาะสมแก่สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ คุณภาพในการผลิต พัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นเทคโนโลยีขั้นสูง เพิ่มความปลอดภัย แก่ผู้ทำงาน ลดความเสี่ยงในด้านการขาดแคลนแรงงาน และมีต้นทุนที่ได้เปรียบ ในการแข่งขัน ซึ่งเทคโนโลยีของเบฟเทคได้ถูกนำไปใช้ในโรงงานของกลุ่มธุรกิจต่างๆ โดยมีเป้าหมายในการนำระบบ Automation มาใช้ในโรงงานของกลุ่มธุรกิจทั้งหมด ร้อยละ 80–90 ของกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยแรงงานคน โดยในขณะนี้ โรงงานโออิชิมีการใช้ระบบ Automation ถึงร้อยละ 90 และโรงงานเบียร์มีการใช้ ระบบนี้แล้วร้อยละ 80

TOMS Mobile
TOMS Mobile เป็นระบบดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบสถานะและคำสั่งซื้อผ่านสัญญาณมือถือ โดยระบบนี้จะทำงานร่วมกับการ ระบุตำแหน่ง (GPS) จากเครื่องโทรศัพท์มือถือ เพื่อตรวจสอบระดับความเร็ว และตำแหน่งที่รถขนส่งวิ่งอยู่ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิด อุบัติเหตุ ลดการใช้เชื้อเพลิงจากการวางแผนการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถนำส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วตามกำหนด อีกด้วย และในอนาคตระบบดังกล่าวจะถูกพัฒนาต่อยอดให้ทำงานร่วมกับเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS Box) และ อัลกอริทึมของ Safe Mate ซึ่งทำหน้าที่ระบุตำแหน่งของรถขนส่ง พร้อมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขับรถระหว่าง เดินทางได้แม่นยำยิ่งขึ้น เช่น ขับขี่ด้วยความเร็วเกินกว่ากำหนด การเร่งความเร็ว การเปลี่ยนช่องทางการเดินรถหรือหยุดรถกะทันหัน ข้อมูลดังกล่าวจะได้รับการประมวลผลและแสดงผลบนเว็บไซต์ และผ่านการตรวจสอบโดยหน่วยงานควบคุมการขนส่งในทันที เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในเชิงรุกและช่วยลดผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนจากการขนส่งทางรถของบริษัท

โออิชิ พ้อยโตะ การ์ด
โออิชิ พ้อยโตะ การ์ด เป็นบัตรสมาชิกดิจิทัลในรูปแบบแอปพลิเคชัน ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการให้บริการตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งช่วยพัฒนาระบบการบริหารความสัมพันธ์กับผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผู้บริโภคสามารถรับข่าวสารหรือ สิทธิพิเศษจากร้านอาหาร ตรวจสอบประวัติการเข้าใช้บริการและค้นหา ตำแหน่งร้านอาหารในกลุ่มบริษัทโออิชิ ตลอดจนสะสมคะแนน เพื่อสามารถแลกใช้เป็นสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้อีกด้วย

ระบบการจัดการร้านอาหารในเครือโออิชิ
บริษัทไทยเบฟเล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาการบริหารจัดการขยะของเสียในธุรกิจอาหารในกลุ่มบริษัทโออิชิ จึงศึกษาข้อมูลเชิงลึก เพื่อเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ตลอดจนนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ ช่วยสร้างระบบการบริหารจัดการร้านอาหารและขยะอาหาร โดยกลุ่มบริษัทโออิชิ สามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบดังกล่าวที่ช่วยจดบันทึกปริมาณและชนิดอาหารที่เหลือของผู้บริโภค และรายการอาหารที่เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้ามาใช้วิเคราะห์และพัฒนาแผนการปรับปรุง ผลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านบริการและการใช้วัตถุดิบ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยกลุ่มบริษัทโออิชิสามารถปรับเปลี่ยนรายการอาหารให้ตรงกับความชอบของผู้บริโภคมากขึ้น จากการศึกษาผ่านบริษัทภายนอกที่มีประสบการณ์ในด้านการวิจัย

โดยทำการศึกษาผู้บริโภคสำหรับร้านอาหารในกลุ่มบริษัท โออิชิ ทั้งร้านโออิชิ อีทเทอเรียม และร้านชาบูชิ ซึ่งผลที่ออกมานั้นพบว่า ผู้บริโภคกว่าร้อยละ 90 มีความพึงพอใจกับเมนูอาหารและการบริการ มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการจัดหารายการอาหารและวัตถุดิบที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทโออิชิยังเริ่มใช้ระบบการสั่งอาหารผ่านบัตรบาร์โค้ดและหน้าจอสัมผัสที่ร้านโออิชิ อีทเทอเรียมเป็นที่แรกในปี 2560 เพื่อควบคุมปริมาณอาหารที่ลูกค้า สามารถสั่งได้ในแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่ลูกค้ามีส่วนช่วยลด ปริมาณขยะอาหารจากการบริโภค โดยกลุ่มบริษัทโออิชิมีแผนการ ขยายสาขาโออิชิ อีทเทอเรียมเพิ่มเติมอีกในอนาคต

นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทไทยเบฟนั้นส่วนหนึ่ง มีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์ความคิดเห็นและพฤติกรรมผ่านช่องทาง การติดต่อสื่อสารต่างๆ เช่น สื่อออนไลน์ อีเมล หน่วยลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) รวมถึงผลวิจัยทางการตลาดเชิงลึก โดยบริษัท นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ ที่ต้องการหาสิ่งแปลกใหม่ให้กับชีวิต ควบคู่กับให้ความสำคัญกับคุณค่า ทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์
โออิชิ ซากุระ สตรอเบอร์รี่
โออิชิ ซากุระ สตรอเบอร์รี่ เป็นผลิตภัณฑ์แรกของธุรกิจเครื่องดื่ม ในประเทศไทยที่นำเอาเทคโนโลยี Thermochromic Shrink Label มาใช้กับฉลากบรรจุภัณฑ์ ทำให้ฉลากสามารถเปลี่ยนสีได้ เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เห็นได้ชัดเจนจากดอกซากุระบนฉลาก ที่สามารถเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีชมพูได้เมื่อสัมผัสกับความเย็น ซึ่งถือเป็นการสร้างสีสันให้กับผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการทดลองสิ่งใหม่หรือหาความตื่นเต้นให้กับชีวิตได้เป็นอย่างดี


นวัตกรรมแบบเปิด
ศูนย์วิจัยและพัฒนาของบริษัทไทยเบฟช่วยส่งเสริมนวัตกรรมทางความคิดสร้างสรรค์ให้กับพนักงานทุกระดับ ตลอดจนให้ความร่วมมือ กับหน่วยงานภายนอก เช่น คู่ค้า องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs) และมหาวิทยาลัย ในรูปแบบ “นวัตกรรมแบบเปิด” เพื่อเสริมสร้าง องค์ความรู้และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์ ต่อบริษัท สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560