หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560 / การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าของการเติบโตเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน การกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
GRI 102-11, GRI 102-15, GRI 102-16, GRI 102-17, GRI 201-2, GRI 205-2, GRI 205-3, GRI 419-1

บริษัทไทยเบฟดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ โปร่งใส เป็นธรรม คงไว้ซึ่งจริยธรรม โดยยึดมั่นปฏิบัติภายใต้กรอบจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การกำกับดูแล เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกำกับดูแลทำให้เกิดโครงสร้าง ที่สำคัญ ซึ่งเป็นกลไกในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจและการกำหนดวิธีที่จะบรรลุ วัตถุประสงค์เหล่านั้น รวมถึงการสอดส่องดูแลผลการปฏิบัติงาน บริษัทจึงมุ่งเน้นการปฎิบัติตามหลัก การกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการวางแผนจัดการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมตามแนวทางการพัฒนา ที่ยั่งยืน

การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นแนวทางการบริหารองค์กรซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลซึ่งสอดคล้อง กับจรรยาบรรณของบริษัท เป็นระบบบริหารจัดการที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย อีกทั้งยังส่งเสริมให้บริษัทดำเนินธุรกิจให้เจริญ เติบโตได้อย่างยั่งยืน

การกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กร
บริษัทไทยเบฟตั้งใจและมุ่งมั่นในการกำกับดูแลกิจการตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดีควบคู่กับการดำเนินงานด้วยระบบการบริหาร ที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ กล่าวคือ ไม่เพียงแต่ประกอบธุรกิจภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายในการเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมืออาชีพ คือ ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และการดำเนินธุรกิจด้วยหลักบรรษัทภิบาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน พนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

นอกจากนี้ บริษัทได้รายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดีไว้ในรายงาน ประจำปี 2560 ซึ่งอธิบายถึงโครงสร้างและกระบวนการในการ เปิดเผยข้อมูลบรรษัทภิบาล ในรายงานประจำปีดังกล่าว ยังได้ เปิดเผยข้อมูลผลประกอบการ แสดงแนวทางในการพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในองค์กร ระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้นของบริษัท เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน

รวมทั้งให้ความสำคัญในการมุ่งมั่น สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพ ทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า เพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและ ยั่งยืน และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาวโดยคำนึงถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรด้วย บริษัท มีแผนการจัดอบรมให้ความรู้ทางด้านกฎหมายและหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โดยทุกปีส่วนงาน กำกับดูแล สำนักเลขานุการบริษัท จะจัดให้ความรู้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องในกลุ่มบริษัทไทยเบฟ และเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ก็จะแจ้งให้ทราบในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร หรือผ่านทางอีเมล แล้วแต่กรณี

นอกจากนี้ บริษัทไทยเบฟยังมีนโยบายการรับข้อร้องเรียน เพื่อเน้นย้ำถึงการ ให้ความสำคัญกับการรับฟังข้อร้องเรียนจากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ทั้งนี้ ปี 2560 ไม่พบรายการขัดแย้ง ที่มีนัยสำคัญและไม่พบข้อร้องเรียนด้านจริยธรรมที่มีนัยสำคัญ

จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเจริญเติบโตก้าวหน้า มีความมั่นคงยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับของสังคม จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ จึงเป็นส่วนสำคัญ ดังนั้นบริษัทไทยเบฟจึงกำหนดจรรยาบรรณ ด้วยเจตนารมณ์มุ่งเน้นพฤติกรรมที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติตาม กฎหมาย มีศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งกำหนดไว้ในจรรยาบรรณ เครือไทยเบฟเวอเรจ ทั้งนี้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ต้องยึดถือปฏิบัติตามเพื่อให้บริษัทบรรลุจุดมุ่งหมายในการรักษาไว้ ซึ่งจรรยาบรรณและยังส่งเสริมการรักษามาตรฐานทางจรรยาบรรณ ไว้อย่างสม่ำเสมอ บริษัทไทยเบฟได้จัดอบรมเรื่องจรรยาบรรณ

ในการดำเนินธุรกิจสำหรับปฐมนิเทศพนักงานใหม่ โดยเผยแพร่ ผ่านทาง sustainability.thaibev.com เพื่อมุ่งเน้นให้พนักงาน ทุกคนเข้าใจเนื้อหาและความหมายที่กำหนดไว้อย่างถ่องแท้ ประกอบกับต้องยอมรับและศรัทธาต่อคุณค่าของมาตรฐาน ทางคุณธรรมและจรรยาบรรณโดยเคร่งครัด หากบุคลากร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทในทุกๆ ส่วนสามารถปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือความถูกต้องชอบธรรมและดำเนินการต่างๆ ภายใต้ นโยบายการกำกับดูแลที่ดี จะช่วยให้บริษัทรักษาความรับผิดชอบ ต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

การต่อต้านการทุจริต
บริษัทไทยเบฟตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและมีคุณธรรม จึงยึดมั่นในกรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กร โดยยึดหลักความยุติธรรม จริยธรรม และการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งคำนึง ถึงผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ทั้งนี้บริษัท ได้กำหนดนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติ ในการต่อต้านและป้องกันการคอร์รัปชัน รวมถึงเป็นแนวทาง ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ กฎระเบียบ มาตรฐาน และกฎหมาย

กรรมการผู้อำนวยการใหญ่มีหน้าที่รับผิดชอบ ติดตามและกำหนดให้มีระบบรองรับการต่อต้านการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ โดยรายงานต่อประธานคณะกรรมการและคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบ และทบทวนนโยบายให้ทันสมัยและสอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ นอกจากนี้บริษัทยังกำหนดให้ ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติ ตามนโยบาย พร้อมทั้งร่วมมือกับกรรมการ ผู้บังคับบัญชา และพนักงาน ช่วยกันสอดส่องดูแล หากพบเห็นการคอร์รัปชัน ให้แจ้งการกระทำดังกล่าวแก่ผู้บังคับบัญชา หรือหากพบบุคคล ที่กระทำผิดจะถูกลงโทษตามกฎระเบียบของบริษัทและดำเนินคดี ตามกฎหมายต่อไป

การรับข้อร้องเรียน
บริษัทไทยเบฟมีนโยบายรับข้อร้องเรียนโดยสนับสนุนให้พนักงานทุกคนแจ้งข้อสงสัยหรือเบาะแส หากพบเห็นการกระทำที่เข้าข่าย เป็นความผิด ซึ่งบริษัทอาจดำเนินการกับการกระทำความผิด ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มงวด และพนักงานที่แจ้งข้อเท็จจริงจะไม่ได้รับ ความเดือดร้อนหรือเสียหายใดๆ หากเป็นการร้องเรียนโดยสุจริต อีกทั้งยังเปิดช่องทางการรับข้อร้องเรียนผ่านทาง กล่องรับความคิดเห็น ในหน่วยงานและ www.thaibev.com จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกภาคส่วน

นโยบายการรับข้อร้องเรียนมุ่งเน้นที่จะจัดการกับ ข้อร้องเรียนและดำเนินการกับผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิด ด้วยความรวดเร็วและเหมาะสม นโยบายนี้จะมีผลบังคับใช้กับ กรรมการและพนักงานทุกระดับในองค์กร และบริษัทพร้อมที่จะ ปกป้องพนักงานที่แจ้งข้อร้องเรียนที่มีมูลความจริง แม้จะปรากฏ ในภายหลังว่าข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นความเข้าใจผิด นอกจากนี้ บริษัทจะดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อคุ้มครองกรรมการและพนักงาน จากความเสียหายหรือการถูกทำร้ายอันมีสาเหตุมาจากการแจ้ง ข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น

การละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย
บริษัทไทยเบฟกำหนดให้พนักงานต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับขององค์กรและข้อกฎหมายทุกประเทศที่บริษัทเข้าไปดำเนินกิจการ หากมีการละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับใดๆ ทั้งด้านจรรยาบรรณ ความเป็นเลิศขององค์กร และสิทธิมนุษยชน ในสถานที่ประกอบการหรือสถานที่ดำเนินธุรกิจ จะต้องหยุดการละเมิดนั้นในทันทีและใช้มาตรการจัดการที่เหมาะสม

ในปี 2560 บริษัทไทยเบฟและกลุ่มบริษัทย่อยในเครือพบว่า มีการละเมิดที่ไม่รุนแรง และกรณีรุนแรง โดยเป็นการจัดกลุ่ม ระดับของการละเมิดตามผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยกำหนดเกณฑ์ ตามมูลค่าทางการเงิน กรณีรุนแรง (Major case) คือ กรณี ที่มีผลกระทบทางการเงินมากกว่าหรือเท่ากับ 300,000 บาท และกรณีไม่รุนแรง (Minor case) คือกรณีที่มีผลกระทบทาง การเงินน้อยกว่า 300,000 บาท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับ บริษัทมีแนวทางแก้ไขเบื้องต้นดังนี้

แนวทางการลดการทุจริตในองค์กร

  • 1. บริษัทจัดให้มีการปฐมนิเทศให้กับพนักงานใหม่และผู้บริหาร

  • 2. จัดให้มีหลักสูตรการอบรมแบบออนไลน์

  • 3. บริษัทให้ความสำคัญในการสื่อสารและทำความเข้าใจในจริยธรรมในการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้บริหาร (Business ethic)

  • 4. บริษัทมุ่งมั่น สื่อสาร ทำความเข้าใจ และกำหนดให้พนักงานและผู้บริหารปฏิบัติตามจรรยาบรรณเครือไทยเบฟ

  • 5. หากบริษัทตรวจพบการทุจริต บริษัทจะดำเนินการขั้นเด็ดขาดทันที

  • 6. บริษัทได้จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบการทุจริตในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560